วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance)
การประกันคุณภาพการศึกษา
(Quality Assurance)
การประกันคุณภาพการศึกษา
(Quality Assurance) หมายถึง
การทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมี
การควบคุมคุณภาพ (Quality
Control) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing)และการประเมินคุณภาพ (QualityAssessment) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพ
และมาตรฐานของดัชนีชี้วัดระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการวางแผน
และกระบวนการจัดการของผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาที่จะรับประกันให้สังคมเชื่อมั่นว่า
จะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่ระบุไว้ในหลักสูตร
และตรงตามความมุ่งหวังของสังคม เนื่องจากพ่อแม่มีสิทธิ์เรียกร้องให้สถาบันการศึกษา
และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษา
จัดการศึกษาให้แก่ลูกอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ลูกมีความรู้ความสามารถ
ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่างๆได้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล ตอบสนองต่อความต้องการ
ความสนใจ และความถนัดที่แตกต่างกัน และที่สำคัญคือ
ทุกคนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่สังคมต้องการ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
ต่อไปไม่ว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองจะส่งลูกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาใด
จะมีความมั่นใจได้ว่าสถาบันการศึกษามีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาสูงเท่าเทียมกัน
ไม่จำเป็นต้องวิ่งเต้นหรือฝากลูกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
เป็นระบบที่พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาให้ทัดเทียมกัน ดังนั้น
พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงยอมไม่ได้
ถ้าลูกเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วไม่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ในระดับต่างๆ
ดังนั้น ผู้ที่รับประกันคุณภาพการศึกษาโดยตรง คือ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ครู
และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน
รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับอำเภอ จังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา กรมเจ้าสังกัด
และกระทรวง ต้องมีการรับผิดชอบเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกัน การประกันคุณภาพการศึกษาแบ่งได้
ดังนี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (Internal
Quality Assurance) หมายถึง
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายใน
โดยวงจร PDCA (Plan - Do - Check - Act) เป็นการปฏิบัติโดยบุคลากรของสถาบันการศึกษาหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัด
ที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษานั้นๆ
วงจร
PDCA (Plan - Do - Check - Act)
การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก
(External Quality Assurance) หมายถึง ประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายนอก
โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) หรือบุคคล
หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง
เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและเป็นการพัฒนาให้มีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษานั้น
การประกันคุณภาพการศึกษามีความสำคัญและความเป็นมาอย่างไร?
ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization)
ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน หรือเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร (Information
Technology) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรม
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้บุคคลต้องมีการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ทันกับยุคและสมัย
การที่บุคคลจะเรียนรู้และปรับตัวได้ดีอันเนื่องมาจากการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
และการศึกษาที่มีคุณภาพจำเป็นต้องมีระบบการศึกษาและการจัดการระบบที่ดี
มีคุณภาพและประสิทธิภาพในทุกๆด้าน
ทั้งทางด้านการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาครู การพัฒนาสื่อ
และแหล่งการเรียนรู้
ตลอดจนการสร้างความร่วมมือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน
และองค์กรต่างๆยุทธวิธีในการทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพได้ดีเพียงใด
ย่อมขึ้นอยู่กับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และผลกระทบที่สำคัญจากการสื่อสารที่ไร้พรมแดน
ทำให้ประเทศไทยมีการรับรู้และตื่นตัวในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมต่อประเทศตะวันตก
ความคาดหวังของสังคม ความต้องการของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
และการมีส่วนร่วมทางด้านการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก
สิ่งเหล่านี้ได้ถูกระบุในกฎหมายรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติการศึกษา ดังนี้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2545 ได้กำหนดจุดมุ่งหมาย และหลักการของการจัดการศึกษา
ที่มุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6
มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 47
กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
ประกอบด้วย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดจุดมุ่งหมาย และหลักการของการจัดการศึกษา ที่มุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 47
กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
ประกอบด้วย ระบบประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก
การประกันคุณภาพภายใน (Internal
Quality Assurance) มาตรา 48
กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก การประกันคุณภาพภายนอก (External
Quality Assurance) มาตรา 49 กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
มีฐานะเป็นองค์กรมหาชน ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก
และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา
โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ
และแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา
ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี
นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย
และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
ระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามกำหนดในกฎของกระทรวง ซึ่งกฎของกระทรวงศึกษาธิการมี
2 ฉบับ ดังนี้กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ
หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2546 ข้อ 2 วรรคสอง บัญญัติว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ประกอบด้วย ระบบการบริหารจัดการและสารสนเทศ การพัฒนามาตรฐานการศึกษา
การจัดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การตรวจสอบและการทบทวนคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์
และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2546 ข้อ 6 (1)
บัญญัติว่า
ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
โดยคำนึงถึงองค์ประกอบของคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาดังต่อไปนี้ ปรัชญา ปณิธาน
วัตถุประสงค์ และแผนดำเนินงาน การเรียนการสอน กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา
การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
การบริหารและการจัดการ การเงินและงบประมาณ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษามีหลักการและจุดมุ่งหมายอย่างไร?
การประกันคุณภาพการศึกษามีหลักการดังนี้
สร้างความมั่นใจและความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษา การป้องกันปัญหา
ต้องมีการวางแผนและการเตรียมการ ตั้งมั่นบนหลักวิชาในการพัฒนาหลักวิชาชีพ
การดำเนินงานสามารถติดตามตรวจสอบและประเมินตนเองได้
การดำเนินงานเน้นคุณภาพในการปฏิบัติงานทุกระดับทุกขั้นตอน การสร้างความรู้ ทักษะ
และความมั่นใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา
การประสานสัมพันธ์ในองค์กรและบุคลากรในพื้นที่ การเน้นภาวะผู้นำของผู้บริหาร
จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย จุดมุ่งหมายทั่วไป ได้แก่
เพื่อให้ทราบระดับคุณภาพของสถาบันการศึกษาในการดำเนินการภารกิจต่างๆ
กระตุ้นเตือนให้สถาบันการศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษา
และประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษา
เพื่อรายงานสภาพและการพัฒนาในด้านคุณภาพ และมาตรฐานของสถาบันการศึกษาต่อสาธารณชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จุดมุ่งหมายเฉพาะ ประกอบด้วย
เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา
และประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่กำหนด
และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นถึงจุดเด่น – จุดที่ควรพัฒนาของสถาบันการศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การประกันคุณภาพการศึกษามีกระบวนการอย่างไร?
กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาประกอบด้วย 3
กระบวนการ ดังนี้ การควบคุมคุณภาพ (Quality
Control) เป็นกระบวนการดำเนินการของหน่วยงานต้นสังกัดและสถาบันการศึกษาในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ
หลังจากนั้นหน่วยงานต้นสังกัดและสถาบันการศึกษาจัดทำแผน
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพเข้าสู่มาตรฐานที่กำหนดไว้ในด้านการพัฒนาหลัก
สูตร สื่อการพัฒนาครูและบุคลากร ธรรมนูญสถานศึกษา ระเบียบการสอน การแนะแนว
การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล ทั้งนี้จะเน้นระบบและกลไกการปฏิบัติงานตามแผน
ติดตาม กำกับการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การตรวจสอบ (Quality
Audit) เป็นการดำเนินการของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดในการยืนยันเป้าหมายที่กำหนด
มุ่งไปสู่มาตรฐานที่ต้องการ โดยการดำเนินการดังนี้ การตรวจสอบและทบทวนการดำเนินงานทั้งระบบด้วยตนเองของสถาบันการศึกษา
เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
และรายงานผลต่อผู้ปกครองและผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษา
การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษา โดยหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและ/หรือใช้มาตรการในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้
การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) เป็นการประเมินค่าระดับคุณภาพของกิจกรรมเฉพาะอย่างในหน่วยงาน
เช่น คุณภาพการจัดการศึกษา คุณภาพของงานวิจัย คุณภาพของการสอน เป็นต้น การประเมินคุณภาพภายในจะใช้วิธีการศึกษาตนเอง
(Self Study) และการประเมินตนเอง (Self
Assessment) ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการดำเนินงานโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
เพื่อประเมินผลและรับรองว่า สถาบันการศึกษาจัดการศึกษาได้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้
การประกันคุณภาพภายในและภายนอกมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
การประกันคุณภาพภายใน เป็นการตรวจสอบ การควบคุม
การติดตาม ประเมินผลคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายใน
โดยบุคลากรของสถาบันการศึกษานั้นทั้งหมด หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษานั้น
ผลจากการตรวจสอบคุณภาพภายใน คือ มีการวางระบบงานที่มีระบบและกลไกที่ชัดเจน
มีการดำเนินงานรวมทั้งมีการพัฒนาฐานข้อมูลในด้านต่างๆ
ส่วนการประกันคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม
การตรวจสอบ คุณภาพและมาตร ฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาซึ่งกระทำโดยหน่วยงานภายนอก
หรือผู้ประเมินภายนอก
เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
การประกันคุณภาพภายใน
จะเน้นการตรวจสอบและประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาด้านต่างๆ ของปัจจัยนำเข้า (Input)
และกระบวนการ (Process) ส่วนการประกันคุณภาพภายนอก
จะเน้นการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในด้านต่างๆของผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ดังนั้น
การประเมินคุณภาพภายในย่อมส่งผลถึงการประกันคุณภาพภายนอกโดยตรง
การประกันคุณภาพภายนอก
จะใช้ตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานต่างๆในการประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา
รวมทั้งการตรวจเยี่ยมสถาบัน ซึ่งในการประเมินต้องคำนึงถึงปรัชญา พันธกิจ
และลักษณะการจัดการเรียนการสอนของแต่ละสถาบันการศึกษา
โดยสถาบันการศึกษาจะต้องจัดทำรายงานประจำปี เตรียมเอกสารข้อมูลในด้านต่างๆ
รวมถึงข้อมูลตามตัวบ่งชี้ และรายงานการประเมินตนเองอย่างน้อย 3 ปีการศึกษา โดยสามารถจัดทำในรูปแบบ CD – Rom หรือ E
– SAR เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือ
สมศ. ต่อไป
การประกันคุณภาพการศึกษามีประโยชน์อย่างไร?
การประกันคุณภาพการศึกษาก่อให้เกิดประโยชน์
ดังนี้ เกิดการพัฒนาคุณภาพของสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่มาตรฐานสากล
การใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการของสถาบันการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
อันจะทำให้การผลิตผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับ การสร้างผลงานวิจัย
และการให้บริการทางวิชาการ เกิดประโยชน์สูงสุด
และตรงกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ ผู้เรียน ผู้ปกครอง ผู้จ้างงาน
และสาธารณชนมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องและเป็นระบบ สถาบันการศึกษา
หน่วยงานบริการการศึกษา และรัฐบาลมีข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นระบบในการกำหนดนโยบาย
วางแผน และการจัดบริการการศึกษา
ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกสาระวิชาสูงได้มาตรฐานสม่ำเสมอ
ผู้เรียนรู้ล่วงหน้าว่าจะได้รับผลอะไรจากการเรียนในสถาบันการศึกษาและได้ผลตามความต้องการ
ผู้ปกครอง ชุมชน ครู หน่วยงานการจัดการศึกษาในท้องถิ่น
มีส่วนร่วมกำหนดมาตรฐานคุณภาพที่ผสมกลมกลืนระหว่างมาตรฐานสากล
มาตรฐานชาติและมาตรฐานท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำการจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพการศึกษา
โดยผนึกกำลังกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน
วางแผนการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้บังเกิดผลกับผู้เรียนตามมาตรฐาน
มีการตรวจสอบยอมรับในแผนการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา ครูได้รับการพัฒนาและจูงใจให้วางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เน้นกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้นำไปสู่การบรรลุมาตรฐานคุณภาพการเรียนรู้อย่างครบถ้วน
ให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาติดตามตรวจสอบการเรียนการสอน และช่วยให้คุณภาพการศึกษามีความเป็นระบบระเบียบ
มีระบบการวัดประเมินผลตามสภาพจริง มุ่งตรงต่อการบรรลุมาตรฐานคุณภาพ
และบันทึกลงแฟ้มผลงานที่ผู้บริหารและครูตรวจสอบผลการเรียนและบันทึกผล
นำผลมาใช้เพื่อการพัฒนาและรายงานสู่ชุมชนสม่ำเสมอว่า
การจัดการเรียนการสอนทำให้บังเกิดผลตามเป้าหมายคุณภาพการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้ดีเพียงใด
การประกันคุณภาพการศึกษามีความสำคัญต่อการเลือกโรงเรียนให้ลูกอย่างไร?
การประกันคุณภาพการศึกษาในอดีตที่ผ่านมา พ่อแม่
ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการเลือกโรงเรียนหรือสถานศึกษาให้กับลูก
ส่วนใหญ่จะมองหาเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียง มีประวัติความเป็นมาของโรงเรียนที่ดี
และได้รับการยอมรับจากสังคม ต่างก็จะมุ่งมาสอบแข่งขันกันเป็นจำนวนมาก
ลักษณะของค่านิยมในการเลือกโรงเรียนให้กับลูกดังกล่าวมีมายาวนาน แต่ในปัจจุบัน
การพิจารณาในปัจจัยต่างๆ อาทิ วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร คุณภาพครูและบุคลากร
สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้
ซึ่งนับวันก็จะมีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ทั้งในส่วนของโรงเรียนมากขึ้น
ยิ่งถ้าโรงเรียนที่มีคุณภาพอยู่ใกล้บ้าน หรือใกล้ที่ทำงานแล้ว
ย่อมเป็นที่สนใจของผู้ปกครอง ดังนั้น ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาจึงมีบทบาทมากที่สุดในปัจจุบัน
ที่จะทำให้โรงเรียนได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานเดียวกัน แต่ก็ยังพบว่า
มีโรงเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถพัฒนาตนเองให้เข้าสู่มาตรฐานได้
จึงทำให้ระบบการศึกษาในปัจจุบันยังคงไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควรจะเป็น
ดังนั้นข้อเสนอแนะสำหรับการเลือกโรงเรียนให้ลูก
ผู้ปกครองอาจพิจารณาประเด็นของโรงเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากการประเมินคุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(สมศ.) ก็จะเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพการศึกษาได้อีกระดับหนึ่ง
ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถค้นหาโรงเรียนได้จาก http://taamkru.com/โรงเรียน/
บรรณานุกรม
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,สำนักงาน. (2554).
แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา.
. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน. (2554). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ
หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน. (2554). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553.
พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,สำนักงาน. (2545).
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2545 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
แนะนำตัวเอง
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ: ซัยฟูลดีนย์ นามสกุล เจ๊ะมะสะแล
ชื่อเล่น: ปู
วัน/เดือน/ปีเกิด: 27 พฤศจิกายน 1994
ระดับการศึกษา: ชั้นอุดมการศึกษา
สถานศึกษา: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขต ยะลา
ที่อยู่: 4/6 ม.1 ต.มะนังยง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี 94150
ส่วนสูง: 177ซม.
น้ำหนัก: 76 กก.
วิชาที่ชอบ: สังคม และความรู้ทั่วไป
Facebook: saifuldin jehmasalae
Blog: jehmasalae6702@gmail.com
คติประจำใจ: มองให้ไกล ใจให้กว้าง เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)