เทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง วิธีการปฏิบัติ ที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง เป็นต้น
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลดิบ ที่ได้ผ่านการประมวลผล จากคอมพิวเตอร์มา
แล้ว นั่นคือได้ผ่านการคำนวณ การจัดเรียง การเปรียบเทียบ เป็นต้น ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เรียกว่า สารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง วิธีการปฏิบัติ ที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง เป็นต้น
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลดิบ ที่ได้ผ่านการประมวลผล จากคอมพิวเตอร์มา
แล้ว นั่นคือได้ผ่านการคำนวณ การจัดเรียง การเปรียบเทียบ เป็นต้น ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เรียกว่า สารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
วิวัฒนาการของสารสนเทศ
อดีตมนุษย์ยังไม่มีภาษาที่ใช้สำหรับการสื่อสาร เมื่อเกิดมีเหตุการณ์ (Event) อะไร เกิด ขึ้น ก็ไม่สามารถถ่ายทอด หรือเผยแพร่แก่บุคคลอื่น หรือสังคมอื่นได้ อย่างถูกต้องตรงกัน ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร จึงมีการคิดใช้สัญลักษณ์ (Symbol) หรือเครื่องหมาย ทำหน้าที่สื่อ ความหมายแทนเหตุการณ์ดังกล่าว จึงมีการใช้กฎ และสูตร (Rule & Formulation) มาใช้เพื่ออธิบายเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเกิดมาจากสาเหตุใด หรือเกิดมาจากสารใดผสมกับสารใด เป็นต้น จากนั้นเมื่อ มนุษย์มีภาษา สำหรับการสื่อสารแล้ว ก็เกิดมีข้อมูล (Data) เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นมามากมาย ทั้งจากภายในสังคมเดียวกัน หรือจากสังคมอื่นๆ เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง ทำให้ต้องมีการวิเคราะห์ หรือประมวลผล ข้อมูลให้มีสถานภาพเป็นสารสนเทศ (Information) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ หรือผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคมีการสะสม เพิ่มพูน สารสนเทศมากๆเข้าและมีการเรียนรู้ (Learning) จนเกิดความเข้าใจ (Understanding) ก็จะเป็นการพัฒนา สารสนเทศที่มีอยู่ในตนเองเป็นองค์ความรู้ (Knowledge) เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ที่มีสติ (สัมปชัญญะ) (Intellect) รู้จักใช้ เหตุและผล (Reasonable) กับความรู้ที่ตนเองมีอยู่ก็จะมีการพัฒนาความรู้เป็นปัญญา (Wisdom) ในที่สุด ดังแสดงได้ ตาม ภาพข้างล่างนี้
อดีตมนุษย์ยังไม่มีภาษาที่ใช้สำหรับการสื่อสาร เมื่อเกิดมีเหตุการณ์ (Event) อะไร เกิด ขึ้น ก็ไม่สามารถถ่ายทอด หรือเผยแพร่แก่บุคคลอื่น หรือสังคมอื่นได้ อย่างถูกต้องตรงกัน ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร จึงมีการคิดใช้สัญลักษณ์ (Symbol) หรือเครื่องหมาย ทำหน้าที่สื่อ ความหมายแทนเหตุการณ์ดังกล่าว จึงมีการใช้กฎ และสูตร (Rule & Formulation) มาใช้เพื่ออธิบายเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเกิดมาจากสาเหตุใด หรือเกิดมาจากสารใดผสมกับสารใด เป็นต้น จากนั้นเมื่อ มนุษย์มีภาษา สำหรับการสื่อสารแล้ว ก็เกิดมีข้อมูล (Data) เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นมามากมาย ทั้งจากภายในสังคมเดียวกัน หรือจากสังคมอื่นๆ เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง ทำให้ต้องมีการวิเคราะห์ หรือประมวลผล ข้อมูลให้มีสถานภาพเป็นสารสนเทศ (Information) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ หรือผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคมีการสะสม เพิ่มพูน สารสนเทศมากๆเข้าและมีการเรียนรู้ (Learning) จนเกิดความเข้าใจ (Understanding) ก็จะเป็นการพัฒนา สารสนเทศที่มีอยู่ในตนเองเป็นองค์ความรู้ (Knowledge) เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ที่มีสติ (สัมปชัญญะ) (Intellect) รู้จักใช้ เหตุและผล (Reasonable) กับความรู้ที่ตนเองมีอยู่ก็จะมีการพัฒนาความรู้เป็นปัญญา (Wisdom) ในที่สุด ดังแสดงได้ ตาม ภาพข้างล่างนี้
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึง เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบันทึก
จัดเก็บ ประมวลผล และค้นคืนสารสนเทศ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ฮาร์ดแวร์
(Hardware) คือ อุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
รวมถึงสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล (Input
Devices) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit :
CPU) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) และอุปกรณ์แสดงผล
(Output Devices)
2. ซอฟท์แวร์ หมายถึง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2ประเภท ดังนี้
2.1 ซอฟท์แวร์ระบบ
( System Software) เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสั่งงานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น
และทำหน้าที่ประสานงานกับซอฟท์แวร์ประยุกต์ทั้งระบบ ตัวอย่างของซอฟท์แวร์ระบบ
ได้แก่Windows,
Mac OS, Unix และ Linux เป็นต้น
2.2 ซอฟท์แวร์ประยุกต์
(Application Software) เป็นซอฟท์แวร์สำเร็จรูปที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง
ๆ เช่น พิมพ์เอกสาร นำเสนองาน และคำนวณ หรือเพื่อใช้งานเฉพ าะด้าน ตัวอย่างได้แก่ Microsoft Word, Adobe
Photoshop และMacromedia Dreamweaver เป็นต้น
ซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการสืบค้นสารสนเทศที่สำคัญมี 2 โปรแกรม
ได้แก่ โปรแกรมค้นดูเว็บ และโปรแกรมอ่านเอกสาร
2.2.1 โปรแกรมค้นดูเว็บ
( Web Browser) เป็นซอฟท์แวร์ที่ช่วยในการอ่านเนื้อหาของเว็บเพจ
โดยทำหน้าที่แปลงค่ารหัสทางคอมพิวเตอร์
ให้เป็นภาพและเสียงตามที่ผู้สร้างเว็บไซต์กำหนด ตัวอย่าง ได้แก่ Internet Explorer, Mosaic,
Opera, Netscape Communicator และ Hot Java เป็นต้น
2.2.2 โปรแกรมอ่านเอกสาร เอกสารที่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ
รูปแบบทั่วไปที่นิยมใช้ คือ เป็นHTML , Microsoft Word และ PDF ผู้ใช้จะต้องดาวน์โหลดโปรแกรม Adobe Acrobat Reader มาติดตั้งไว้ในเครื่อง จึงจะสามารถเรียกดูแฟ้มข้อมูลในรูปแบบ PDF ได้
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้
ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ
โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้
(programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ
ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน
ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น
ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร
การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ
มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี
ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง
(IPOS cycle) คือ
1. รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล
(input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
2. ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล
เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
3. แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์
(output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
4.เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล
เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย
เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม
ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ
การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ
ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม
และการท่องเที่ยว
ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน
เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย
ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector) มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ
รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย
ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค
วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์
และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น (http://forum.datatan.net สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2553)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน
ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ
ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง
และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้
บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้
อาศัยศักยภาพและ
ความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี
มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้
การสืบค้นข้อมูล
และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา
การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ
ได้แก่
การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based
Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Training) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-
based
Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
อิเล็กทรอนิกส์บุค
คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร
ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ
หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์
ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง
ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ
จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ
ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน
ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้
วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์
หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย
เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย
ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน
และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ
ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้
ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน
ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน
เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง
ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร
ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่
จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส
ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
ระบบวิดีโอออนดีมานด์
(Video
on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้
ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดย
อาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์
ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ
(Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง
การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาด
ใหญ่
(Video
Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด
ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้
ในเรื่อง
การเรียนการสอนทางไกลได้
โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน
ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้
การสืบค้นข้อมูล
(Search
Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก
แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล
จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www.โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่
ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ
โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป
ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง
และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก
ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Composure FrontPage Macromedia
Dreamweaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล
เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
อินเทอร์เน็ต
คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย
และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้าน
เครื่องในปัจจุบัน
โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ
โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก
ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต
เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
การเรียนรู้แบบออนไลน์
หรือ E-learning การเรียนรู้แบบออนไลน์เป็นการศึกษา
เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน
โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง
วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บ
เบราว์เซอร์ (Web Browser) โดยผู้เรียน
ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ
โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย
สำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all :
anyone, anywhere and anytime) ซึ่งการให้บริการการเรียนแบบออนไลน์
มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน
โดยแต่ละส่วนจะต้องได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี
เพราะเมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันได้อย่างลงตัวดังนี้
(1) เนื้อหาของบทเรียน
(2) ระบบบริหารการเรียน ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน
เราเรียกระบบนี้ว่าระบบบริหารการเรียน (E-Learning Management
System:
LMS) ดังนั้นระบบบริหารการเรียนจึงเป็นส่วนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจนจบหลักสูตร
(3) การติดต่อสื่อสาร การเรียนแบบ E-learning นำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง มาใช้ประกอบในการเรียน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
ประเภท Real-time ได้แก่ Chat
(message, voice), White board/Text slide, Real-time Annotations, Interactive
poll,
Conferencing และอื่นๆ ส่วนอีกแบบคือ ประเภท Non real-time ได้แก่ Web-board, E-mail เป็นต้น
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
(E-library) ในปัจจุบันสังคมไทยเราอยู่ในยุคข่าวสาร
ทำให้มีการกระจายข้อมูลข่าวสารได้อย่าง ดังนั้นห้องสมุดจึงต้อง
เปลี่ยนแปลงระบบการทำงานด้านต่าง
ๆ โดยเฉพาะงานด้านบริการจะมีบทบาทที่เด่นชัด
ความต้องการของผู้ใช้บริการจึงเป็นแรงผลักดันให้ห้องสมุด
เปลี่ยนการให้บริการงานห้องสมุดมาเป็นระบบอัตโนมัติ
เช่น
(1) ระบบที่สามารถให้บริการและตรวจสอบได้
(2) ระบบบริการยืม – คืน
ทรัพยากรด้วยแถบรหัสบาร์โค้ด
(3) ระบบบริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากร
(4) ระบบตรวจเช็คสถิติการใช้บริการห้องสมุด
(5) ระบบตรวจเช็คสถิติการยืม – คืนทรัพยากร
(6) การสำรวจทรัพยากรประจำปี
(7) การพิมพ์บาร์โค้ดทรัพยากรและสมาชิก
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ
พาณิชย์และสำนักงาน
1)
E-commerce (Electronic Commerce) หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
หมายถึง การทำธุรกรรมในเชิงธุรกิจทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งรวมทั้งกิจกรรมการซื้อขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เช่น การโฆษณา การประชา-สัมพันธ์ การส่งสินค้า การชำระเงิน และการบริการด้านข้อมูล
เป็นต้น E-commerce นั้นสามารถให้บริการที่สะดวก
รวดเร็ว และไม่จำกัดขอบเขตของผู้ใช้บริการและระยะเวลาทำการของหน่วยงาน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
หมายถึง
สื่อที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือหลักในการปฏิบัติงานและติดต่อสื่อสารข้อมูล
ใน E-commerce สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของเรา ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อเคเบิลทีวี
เครื่องโทรสาร โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่อง ATM ระบบการชำระเงินและโอนเงินอัตโนมัติ รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2)
E-business เป็นธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่า E-commerce เนื่องจากเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจ
มิได้พิจารณาเพียงเฉพาะกิจกรรมการซื้อ-ขายเท่านั้น
เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ และปรับปรุงธุรกิจให้มีความเป็นระบบ
สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจด้วยการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นรูปแบบ Online และครอบคลุมได้ทั่วโลก
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic
Data Interchange: EDI) หรือ EDI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
เช่น โทรศัพท์ สายเคเบิล ดาวเทียม เป็นต้น
แทนการส่งเอกสารโดยพนักงานส่งสารหรือไปรษณีย์ ระบบ EDI จะต้องใช้รูปแบบของเอกสารที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานทางธุรกิจหรือองค์กรต่าง
ๆ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับมาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร
ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน คือ มาตรฐานEDIFACT (Electronic
Data Interchange for Administration, Commerce and Transport) ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน
ใบกำกับภาษี
ประโยชน์ของการใช้ระบบ EDI
(1) ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่งเอกสาร
(2) ลดเวลาทำงานในการป้อนข้อมูล
ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลที่ซ้ำซ้อน
(3) เพิ่มความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร
(4) ลดค่าใช้จ่ายและภาระงานด้านเอกสาร
(5) แก้ปัญหาอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และเวลา
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย
เพื่อให้งานบังเกิดผลในด้านบวก อาทิ ความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง
และสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์
เทเลเท็กซ์ เครื่องเขียนตามคำบอกอัตโนมัติ (Dictating Machines) เครื่องอ่านและบันทึกวัสดุย่อส่วน
เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เครื่องโทรสาร ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้
นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในระบบสำนักงาน
จึงเรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ซึ่งเทคโนโลยีดังที่กล่าวมานำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น
งานจัดเตรียมเอกสาร งานกระจายเอกสาร งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร
งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง
งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาอุตสาหกรรมและการผลิต
โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดกา(Management Information
System-MIS) เข้ามาช่วยจัดการงานด้านการผลิต การสั่งซื้อ
การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมการพิมพ์
อุตสาหกรรมประเภทนี้ ใช้ระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Publishing) ในการจัดเตรียมต้นฉบับ วิดีโอเท็กซ์ วัสดุย่อส่วน
และเทเลเท็กซ์ได้ รวมทั้งการพิมพ์ภาพโดยใช้เทอร์มินัลนำเสนอภาพ (Visual
Display Terminal) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
มีการใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบรถยนต์ ปฏิบัติการการผลิต (เช่น การพ่นสี
การเชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ฯลฯ) การขับเคลื่อน การบริการ และการขาย
รวมทั้งออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานในโรงงานได้ในรูปแบบหุ่นยนต์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาสาธารณสุขและการแพทย์
งานด้านสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
ระบบบริหารได้นำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่าง ๆ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วย
การสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
การให้คำปรึกษาทางไกลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ
เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้าหรือท่าทางของผู้ป่วยได้
ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสารหรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
ส่วนด้านให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล ด้วยระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นต้น
1) ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ระบบแพทย์ทางไกลเป็นการนำเอาความก้าวหน้าด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานทางการแพทย์
โดยการส่งสัญญาณผ่านสื่อซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณดาวเทียม (Satellite) หรือใยแก้วนำแสง (Fiber optic) แล้วแต่กรณีควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
แพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันด้วยภาพ เคลื่อนไหวและเสียง
ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ระหว่างกันได้
2) ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Medical Consultation)ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกลเป็นระบบการปรึกษาระหว่างโรงพยาบาลกับ
โรงพยาบาล (One to One) ซึ่งจะสามารถใช้งานพร้อม ๆ
กันได้ เช่น ในขณะที่โรงพยาบาลที่ 1 ปรึกษากับโรงพยาบาล
ที่ 2 อยู่ โรงพยาบาลที่ 3 สามารถขอคำปรึกษาจากโรงพยาบาลที่ 4 และโรงพยาบาลที่ 5 สามารถขอคำปรึกษาจาก โรงพยาบาลที่ 6 ได้
ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล ประกอบด้วยระบบย่อย ๆ 3 ระบบดังนี้คือ 1) ระบบ Teleradiology เป็นระบบการรับส่งภาพ X-Ray โดยผ่านการ Scan Film จาก High
Resolution Scanner เพื่อเก็บลงใน File ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะมีการส่ง File ดังกล่าวไปยังโรงพยาบาลที่จะให้คำปรึกษา 2) ระบบ Telecardiology เป็นระบบการรับส่งคลื่นหัวใจ
(ECG) และเสียงปอด เสียงหัวใจ
โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อมายังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 3) ระบบ Telepath logy เป็นระบบรับส่งภาพจากกล้องจุลทรรศน์
(Microscope) ซึ่งอาจจะเป็นภาพเนื้อเยื่อ หรือภาพใดๆ
ก็ได้จากกล้องจุลทรรศน์ทั้งชนิด Monocularและ Binocular ระบบนี้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโรงพยาบาลต่างๆ
อยู่แล้ว
3) ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลและโทรศัพท์ (Data and Voice Network)ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลเป็นระบบการใช้งานเชื่อมต่อจากโรงพยาบาลต่าง ๆ
ซึ่งเป็นจุดติดตั้งของโครงการฯ มายังสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้สามารถใช้บริการทางด้านเครือข่ายข้อมูลต่าง ๆ คือระบบ Internet ระบบ CD-ROM Server ระบบ
ฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข
ส่วนระบบ CD-ROM Server เป็นระบบที่ให้บริการฐานข้อมูลทางการแพทย์จำนวน 5 ฐานข้อมูล ได้แก่ ฐานข้อมูล Medline Standard ฐานข้อมูล Drugs and Pharmacology ฐานข้อมูล Nursing ฐานข้อมูล Health Planning และฐานข้อมูล Excreta
Medico จำนวน 3 modules ได้แก่ Cardiology,
Gastro Intestinal, Nephrology
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม
การประยุกต์ใช้ในงานประเภทนี้ได้แก่
การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี
การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) เป็นต้น
ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารข้อมูลและโทรคมนาคมที่น่าสนใจ
ได้แก่เทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้
ดาวเทียม
(Satellite) เป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น แล้วส่งไปโคจรรอบโลก
รอบดาวเคราะห์ต่าง ๆ ดาวฤกษ์ต่าง ๆ
หรือเพื่อให้ท่องเที่ยวไปในอวกาศและจักรวาลตามวิถีที่ได้มีการกำหนดไว้ก่อน
ดาวเทียม จำแนกได้หลายประเภทซึ่งขึ้นกับลักษณะการใช้งานเช่น ดาวเทียมวิทยาศาสตร์ (Scientific
Satellite) ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์
ดาวเทียมการทหาร (Military Satellite) แบ่งเป็นประเภทย่อยได้
เช่น ดาวเทียมจารกรรม ดาวเทียมเตือนภัยล่วงหน้า ดาวเทียมต่อต้านจรวด
และดาวเทียมจู่โจมหรือระดมยิง เป็นต้น ดาวเทียมนำทาง (Navigational
Satellite) ดาวเทียมประเภทนี้ใช้ประโยชน์มากในเรือดำน้ำ
การวางแผนเส้นทางเดินเรือและเส้นทางการบิน ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรบนผิวโลกและในมหาสมุทร
(Earth and Ocean Resources Satellite) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ศึกษาธรณีวิทยา
พืชพรรณ ตลอดจนมหาสมุทร และดาวเทียมโทรคมนาคม (Telecommunication
Satellite) ใช้ในกิจการการสื่อสารในระดับโลก ระดับภูมิภาค
และระดับประเทศ
2) โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital
Network- ISDN)
ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated
Service Digital Network ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ
เสียง และข้อมูล ต่าง ๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน
และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN)รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น
(Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
เนื่องจากระบบ ISDN เป็นแบบดิจิทัลทั้งหมด
ตลอดปลายทาง ไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณ ทำให้ความเพี้ยนของสัญญาณมีน้อยมาก
ตลอดจนสิ่งรบกวน (Noise) ก็จะลดน้อยลงด้วยทำให้ข้อมูลข่าวสารที่รับส่งในโครงข่าย ISDN มีความถูกต้อง ไว้วางใจได้สูงกว่าระบบเดิม ความเร็วในการรับส่ง 64
Kbps ต่อวงจร ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล ภาพ
ตัวอักษร ในปริมาณมากและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม
สำหรับการบริการของระบบ ISDN ในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นนอกจากการส่งข้อมูลเสียงแล้ว
ยังบริการข้อมูลอื่น ๆ อีก อาทิ ระบบโทรศัพท์แบบใหม่ซึ่งสามาร
ถแสดงหมายเลขโทรศัพท์
ชื่อ ตลอดจนที่อยู่ของผู้ที่เรียกมา
และระบบโทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถแสดงข้อมูลของผู้ที่
เรียกเข้ามาได้
นอกจากนี้ระบบ ISDN ยังช่วยให้มีการติดต่อเพื่อพูดคุยพร้อมกันหลาย ๆ สายได้
อีกทั้งมีระบบไปรษณีย์เสียง (voice mail) กล่าวคือ
หากผู้
ที่โทรเรียกไปพบว่าสายไม่ว่างหรือไม่มีผู้รับก็อาจจะทิ้งข้อความไว้
และเมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบ ข้อความที่ฝากไว้ก็จะถูกถ่ายทอดให้แก่ผู้นั้นได้ทันที
นอกจากนี้ยังมีการบริการให้แก่โรงแรมต่าง
ๆ ในการปลุกผู้เข้าพักโดยอัตโนมัติอีกด้
โทรสาร
(Facsimile) หรือแฟ็กซ์ (Fax) เป็นวิวัฒนาการด้านอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล
ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อส่งผ่านสารสนเทศจากต้นแหล่งไปยังผู้รับปลายทาง
โดยใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูง
ระบบการทำงานของเครื่องโทรสารเป็นกระบวนการที่เครื่องส่งฉายแสงไปที่เอกสาร รูปถ่าย
ภาพเขียน หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ อันเป็นต้นฉบับ
เพื่อเปลี่ยนภาพหรืออักษรเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วส่งไปตามช่องทางคมนาคมต่าง ๆ อาทิ
ไมโครเวฟ สายโทรศัพท์ เครื่องส่งวิทยุ เมื่อเครื่องรับปลายทางได้รับสัญญาณดังกล่าว
ก็จะเปลี่ยนสัญญาณนั้นให้ปรากฏเป็นภาพหรือข้อความตรงตามต้นฉบับ
โทรภาพสาร
(Teletext) โทรภาพสารหรือเทเลเท็กซ์เป็นระบบรับ-ส่งสารสนเทศผ่านคลื่นวิทยุโทรทัศน์
ส่งออกอากาศได้ในเวลาเดียวกันกับที่มีการออกอากาศรายการโทรทัศน์ตามปรกติ
สารสนเทศจะถูกส่งออกอากาศเป็นหน้า ๆ เหมือนหน้าหนังสือทั่วไป
ผู้ชมสามารถใช้การควบคุมระยะไกล (Remote Control) เรียกสารสนเทศนั้นออกมาดูได้ตามต้องการ
หรือเลือกดูเฉพาะข้อความที่ต้องการและหยุดดูได้นานตามต้องการ
ไม่ต้องรอดูตั้งแต่หน้าแรกและยังสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้ตามปกติ
ผู้ที่มีเครื่องรับธรรมดาจะรับสารสนเทศทางเทเลเท็กซ์ได้ด้วยการติดตั้งแผ่นวงจรพิเศษกับเครื่องรับโทรทัศน์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(Electronic
mail: E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นทางเลือกขั้นต้น
ในการให้บริการจดหมายทางไปรษณีย์โดยอัตโนมัติ
แนวความคิดเกี่ยวกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมถึงเรื่อง Broad
Spectrum ด้วย กล่าวคือสารจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วจึงถูกส่งออกไป
ดังนั้น กระบวนการของระบบจึงเป็นลักษณะเดียวกับระบบโทรสาร
ข้อมูลนำเข้าและข้อมูลผลลัพธ์จากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
อาจปรากฏในรูปของ Video
Terminal, Word Processor,โทรสาร, Data Terminal Computer
Vision และระบบการสื่อสารด้วยเสียง
การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องอาศัยข่ายงานโทรคมนาคม ไปรษณีย์
อิเลคทรอนิกส์ที่มีข้อความสำคัญและประสงค์การส่งอย่างรวดเร็ว
อาจกระทำได้โดยส่งผ่านออกไปในรูปแบบข้อมูลคอมพิวเตอร์
ผ่านข่ายงานข้อมูลที่เรียกว่า Computerize Switching System
การประชุมทางไกล
(Teleconference) การประชุมทางไกลหรือการประชุมระยะไกลเป็นรูปแบบการสื่อสารหรือการประชุมระหว่างคนหลายๆ
คน โดยไม่ต้องอยู่ต่อหน้ากัน และใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นกลไกสำคัญในการสื่อสาร
การประชุมทางไกลมี 3 วิธีการ คือ 1) การประชุมทางไกลด้วยเสียงและภาพ 2) การประชุมทางไกลด้วยเสียง 3) การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์
จะใช้คอมพิวเตอร์ส่งสาระของการประชุมระหว่างกันผ่านระบบออนไลน์
เทคโนโลยีการติดต่อไร้สายแบบ Bluetooth เป็นสถาปัตยกรรมการติดต่อของ Bluetooth จะใช้คลื่นความถี่ในการติดต่อในย่าน Ism
(Industrial, Scientific, Medical) ที่มีความถี่ 2.4 กิกะเฮิรต์ และใช้พลังงานต่ำ โดยทางปฏิบัติแล้วอุปกรณ์ของBluetooth นั้นจะมีพื้นที่การใช้งานไม่เกิน 10 เมตรโดยการติดต่อผ่านทางช่องสัญญาณที่สนับสนุนทั้งข้อมูล
(อะซิงโครนัส) และเสียง (ซิงโครไนซ์) ที่ความเร็ว 741 Kbps Bluetooth สามารถจัดการให้อุปกรณ์หลายชนิดสามารถติดต่อสื่อสารได้พร้อมกัน
โดยจะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็น Maser และอุปกรณ์อื่นๆทำหน้าที่เป็น SLAVE ในการรวมกลุ่มของอุปกรณ์เป็นเครือข่ายของ BLUETOOTH เราเรียกว่า PICONET โดยในแต่ละ PICONET สามารถมีอุปกรณ์ที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั้งหมด 8ชิ้น มีตัวหนึ่งเป็น MASTER และมี SLAVE อย่างน้อยหนึ่งตัว ซึ่งการติดต่อสื่อสารจะเป็นแบบจุดต่อหลายจุด
ช่องสัญญาณและแบนด์วิดธ์จะถูกแบ่งระหว่างอุปกรณ์ใน PICONET Bluetooth นั้นได้รับการออกแบบมาเพื่อให้มีราคาถูก ใช้พลังงานต่ำ
และเป็นระบบรับส่งข้อมูลผ่านสัญญาณวิทยุในระยะใกล้ ซึ่งสามารถ สื่อสารกับเพจเจอร์,
Pda, โทรศัพท์เคลื่อนที่ และคอมพิวเตอร์แลปทอป ตัวอย่างเช่น Bluetooth สามารถใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์แลปทอปในการเข้าอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
หรือผู้ใช้สามารถแชร์ข้อมูลร่วมกันระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโน้ตบุ๊ก
ที่เหนือกว่านั้นคืออุปกรณ์ที่เข้ากันได้กับมาตรฐาน Bluetooth สามารถเข้าใช้แอ็กเซ็สพอยนต์ที่อยู่ในสถานที่สาธารณะ
ดังเช่นในสนามบินเป็นต้น
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่างๆ
สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ
(Government
Information Technology Services – GITS) ลักษณะงานของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ
จะให้บริการเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network) เพื่อตอบสนองการบริหารงานสำหรับหน่วยงานของภาครัฐได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง
ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานอันนำไปสู่การเป็น E-government และเป็นศูนย์กลางส่งเสริมให้เกิดระบบการเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างภาครัฐและประชาชน
สำนักงานอัตโนมัติ
(Office
Automation - OA) สำนักงานอัตโนมัติที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นมีชื่อว่า IT
Model Office เป็นโครงการนำร่องที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายพื้นฐานของภาครัฐ
ในรูปของสำนักงานอัตโนมัติ เช่น งานสารบรรณ งานจัดทำเอกสารและจัดส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
งานแฟ้มเอกสาร งานบันทึกการนัดหมายผู้บริหาร ซึ่งระบบงานที่สำคัญมีดังนี้คือ
(1) ระบบนำเสนอข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้บริหาร
(2) ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัย ได้มีการนำเทคโนโลยีลายเซ็นดิจิทัล (Digital
Signature) เข้ามาช่วยในการยืนยันผู้ส่งและยืนยันความแท้จริงของอีเมล์
3) อินเทอร์เน็ตตำบล อินเทอร์เน็ตตำบล
เป็นการวางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ตำบลต่าง ๆ
ทั่วประเทศสามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านต่างๆ
เช่น หน่วยงานของรัฐ และองค์กรต่างๆ
สามารถมีส่วนร่วมในการจัดทำและใช้ประโยชน์จากระบบอินเทอร์เน็ตตำบล
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่อยู่ ณ
ตำบลและใกล้ชิดกับประชาชนก็จะมีความสำคัญและความรับผิดชอบในการจัดทำ
ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูล รวมทั้งให้บริการแก่กลุ่มชนต่าง ๆ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสรรพกร
เนื่องจากกรมสรรพากรทำหน้าที่เป็นเหมือนแหล่งรายได้ของรัฐบาล
รายได้จากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีมากถึง 60เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมของประเทศ
ดังนั้นรัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญกับระบบการจัดเก็บ
ข้อมูลและประวัติของผู้เสียภาษีอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้
สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังต้องการข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์เพื่อทำ Macro
Modelหรือแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ให้กับประเทศอีกด้วย
ปัจจุบันกรมสรรพกรได้จัดทำโครงการ E-revenue ซึ่งเป็นบริการเสียภาษีออนไลน์
นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ด้านการพาณิชย์
มีบริการโปรแกรมประการยื่นแบบ บริการแบบพิมพ์ บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
เป็นต้น ซึ่งอำนวยความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้นต่อประชาชนผู้ใช้บริการ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติและทางทหาร
ด้านกฎหมายและการปกครอง
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสรุปคดีทุกคดีว่าใครฟ้องใคร เรื่องอะไร ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์
ศาลฎีกา ตัดสินว่าอย่างไร เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยงานได้หลายอย่าง เช่น
ต้องการทราบว่ารัฐธรรมนูญฉบับไหนเหมือนหรือแตกต่างกับฉบับไหนมากน้อยเท่าใด
ก็ให้คอมพิวเตอร์ค้นหา และวิเคราะห์เปรียบเทียบพิมพ์ลงได้
หรือต้องการทราบว่าคดีแบบไหนเคยมีฟ้องร้องแล้วศาลตัดสินอย่างไร ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยหาให้ก็จะได้คำตอบภายในเวลาไม่กี่นาที
ด้านรัฐสภา
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุน
และการดำเนินบทบาทด้านการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นอย่างมากต่องานรัฐสภา
ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านนิติ-บัญญัติ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐสภาได้มีการปรับปรุงระบบงานใหม่
พร้อมดึงเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกิจการงานสภา
ศึกษาวิเคราะห์ระบบงานรัฐสภาทั้งหมดและจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์
ขึ้นมากำกับดูแลงานด้านคอมพิวเตอร์ พร้อมพัฒนาฐานข้อมูลรัฐสภาขึ้นระหว่างปีพ.ศ. 2535-2540
ด้านการทหารและกองบัญชาการทหารสูงสุด
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการทหารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
คือ ด้านการสื่อสาร และภูมิศาสตร์
มีการนำดาวเทียมทหารมาใช้เพื่อกิจการด้านความมั่นคงทางทหาร
เพราะสามารถส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นความลับเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะด้านการทหารซึ่งไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้
การถ่ายภาพภูมิศาสตร์
จำลองลักษณะภูมิศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อความสะดวก
ในการจัดทำยุทธภูมิและการวางแผนป้องกันประเทศ
- ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการประดิษฐ์อาวุธที่ทันสมัย สามารถกำหนดพิกัดการยิงโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทางและวิถีการตกของระเบิดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
- ทางด้านการทหารได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับเครื่องตรวจจับ อาวุธสงคราม
รวมถึงเครื่องบินที่รุกล้ำเข้ามาใน เขตน่านฟ้าของประเทศไทย
- มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับข้อมูลผู้ไม่ประสงค์ดีต่อประเทศไทย
มาสร้างเป็น แบบจำลองการป้องกันประเทศ
ด้านการตำรวจ
ทางด้านการตำรวจของไทย มีศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ
ซึ่งมีคอมพิวเตอร์ขนาดกลางใช้ทำทะเบียนรถยนต์ทำทะเบียนใบขับขี่ ทำทะเบียนปืน
ทำทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำงานกำลังพล
และทำงานบัญชีของกรมตำรวจในสหรัฐอเมริกานั้น
นอกจากนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านข่าวสารข้อมูล
ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในปัจจุบัน ขณะนี้ มีด้วยกัน 4 ระบบใหญ่ๆ
มีลักษณะการใช้งาน โดยย่อ ดังนี้
ระบบตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ
(AFIS) เป็นระบบที่ใช้ในการจัดเก็บ และค้นหา ลายพิมพ์นิ้วมือแฝง ที่ได้จาก
การตรวจ สถานที่เกิดเหตุ
และระบบที่
ใช้จัดเก็บ และค้นหา ประวัติ ผู้กระทำผิด จากลายพิมพ์นิ้วมือ 10 นิ้ว
และลายพิมพ์นิ้วมือแฝงที่ส่งมาจากสถานีตำรวจ
ระบบทะเบียนประวัติอาชญากร
(CDOS) เป็นระบบที่เก็บและค้นหาประวัติ การกระทำผิด, แผน
ประทุษกรรม, ตำหนิรูปพรรณ และหมายจับ ฯลฯ
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบภาพใบหน้าคนร้าย
เป็นระบบที่ ใช้สร้างภาพ คนร้าย ตามคำบอกเล่าของพยาน ที่จำหน้า คนร้ายได้
ระบบสถิติคดีอาญา
(CSS) เป็นระบบที่ใช้สำหรับจัดเก็บสถิติคดีอาญาอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่
การรับแจ้งคดี การจับกุมเพิ่มเติม
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาบันเทิง
ยุคของสังคมสารสนเทศที่มีลักษณะการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี
และเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงทำให้เกิด อีซีนีม่า (E-cinema)กิจกรรมต่างๆ
สำหรับสมาชิกที่เข้ามาใช้ อีซีนีม่า คือ เปิดออนไลน์
บุ๊คกิ้งมีการเปิดให้จองตั๋วและเลือกที่นั่งทางเว็บไซต์ ลูกค้าสามารถจ่ายเงินในเว็บได้เลยโดยผ่านบัตรเครดิต
ธุรกิจด้านอีซีนีม่านี้นับได้ว่ามีประโยชน์มหาศาล
เพราะทางเจ้าของกิจการได้มีการบอกข่าวสารบางอย่างที่ลูกค้าไม่รู้ทุกอย่างรวมอยู่ในเว็บ
ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเชิงธุรกิจ ทั้งได้รับการตอบรับสูงจากลูกค้า ของการเปิดจองทั้งระบบ
ซึ่งปัจจุบันบริการทั้งระบบโทรศัพท์และระบบออนไลน์
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์
เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง
โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
ลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมายแนวโน้มในด้านบวก
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทมากขึ้น
มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต เชื่อมโยงการทำงานต่าง ๆ
การดำเนินธุรกิจใช้สารสนเทศอย่างกว้างขวาง เกิดคำใหม่ว่า ไซเบอร์สเปซ (Cyberspace) มีการดำเนินกิจกรรมต่าง
ๆ ในไซเบอร์สเปซ เช่น การพูดคุย การซื้อสินค้าและบริการ
การทำงานผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดสภาพที่เสมือนจริงมากมาย เช่น ห้องสมุดเสมือนจริง
ห้องเรียนเสมือนจริง ที่ทำงานเสมือนจริง ฯลฯ (กมลชนก ใยปางแก้ว, 2552 :
8-9)
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัสและตอบสนองตามความต้องการ
ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีเป็นแบบบังคับ การดูโทรทัศน์ การฟังวิทยุ
เมื่อเราเปิดเครื่องรับโทรทัศน์เราไม่สามารถเลือกตามความต้องการได้
ถ้าสถานีส่งสัญญาณใดมาเราก็จะต้องชมตามตารางเวลาที่สถานีกำหนด
หากผิดเวลาก็ทำให้พลาดรายการที่สนใจไป
และหากไม่พอใจรายการก็ทำได้เพียงเลือกสถานีใหม่
แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่าออนดีมานด์ (On Demand) เราจะมีทีวีออนดีมานด์
(TV on Demand) เช่น
เมื่อต้องการชมภาพยนตร์เรื่องใดก็เลือกชม และดูได้ตั้งแต่ต้นรายการ
การศึกษาออนดีมานด์ (Education on Demand) คือ
สามารถเลือกเรียนตามต้องการได้ การตอบสนองตามความต้องการเป็นหนทางที่เป็นไปได้
เพราะเทคโนโลยีมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าจนสามารถนำระบบสื่อสารมาตอบสนองตามความต้องการของมนุษย์ได้
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
เมื่อการสื่อสารแบบสองทางก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้น
การโต้ตอบผ่านเครือข่ายทำให้เสมือนมีปฏิสัมพันธ์ได้จริง
เรามีระบบประชุมทางวีดิทัศน์ ระบบประชุมบนเครือข่าย มีระบบการศึกษาบนเครือข่าย
มีระบบการค้าบนเครือข่าย
ลักษณะของการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ทำให้ขยายขอบเขตการทำงานหรือดำเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแห่ง
และดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ระบบเอทีเอ็ม ทำให้มีการเบิกจ่ายได้เกือบตลอดเวลา
และกระจายไปใกล้ตัวผู้รับบริการมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
การบริการจะกระจายมากยิ่งขึ้น จนถึงที่บ้าน
และในอนาคตสังคมการทำงานจะกระจายจนงานบางงานอาจนั่งทำที่บ้านหรือที่ใดก็ได้
และเวลาใดก็ได้ (กมลชนก ใยปางแก้ว, 2552 : 8-9)
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก
ความเกี่ยวโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก
ทั่วโลกจะมีกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขต กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศและเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน หน่วยงานภายในเป็นแบบเครือข่ายมากขึ้น
แต่เดิมการจัดองค์กรมีการวางเป็นลำดับขั้น มีสายการบังคับบัญชาจากบนลงล่าง
แต่เมื่อการสื่อสารแบบสองทางและการกระจายข่าวสารดีขึ้น
มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กรผูกพันกันเป็นกลุ่มงาน
มีการเพิ่มคุณค่าขององค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การจัดโครงสร้างขององค์กรจึงปรับเปลี่ยนจากเดิม และมีแนวโน้มที่จะสร้างองค์กรเป็นเครือข่ายที่มีลักษณะการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น
หน่วยธุรกิจจะมีขนาดเล็กลงและเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย
สถานภาพขององค์กรจึงต้องแปรเปลี่ยนไปตามกระแสของเทคโนโลยี
เพราะการดำเนินธุรกิจต้องใช้ระบบสื่อสารที่มีความรวดเร็วเท่ากับแสง
ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น
อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจหรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
แต่เดิมการตัดสินปัญหาอาจมีหนทางให้เลือกได้น้อย เช่น อาจมีคำตอบเพียง ใช่ หรือ
ไม่ใช่ แต่ด้วยข้อมูลข่าวสารที่สนับสนุนการตัดสินใจ
ทำให้วิถีความคิดในการตัดสินปัญหาเปลี่ยนไป ผู้ตัดสินใจมีทางเลือกได้มากขึ้น
มีความละเอียดอ่อนในการตัดสินปัญหาได้ดีขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีเดียวที่มีบทบาทในทุกวงการ
ดังนั้นจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองได้อย่างมาก
ลองนึกดูว่าขณะนี้เราสามารถชมข่าว
ชมรายการโทรทัศน์ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก
เราสามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที
เราใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกัน และติดต่อกับคนได้ทั่วโลก
จึงเป็นที่แน่ชัดว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
จึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การประยุกต์ใช้ RFID (กมลชนก
ใยปางแก้ว, 2552 : 15-17) RFID (Radio Frequency Identification) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับระบบการระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ
สามารถใช้ในการระบุเอกลักษณ์ของวัตถุ บอกตำแหน่ง ติดตามและตรวจสอบสินค้า
โดยการใช้ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ฝังไมโครชิปเก็บข้อมูล และสายอากาศ
ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียนข้อมูล
ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ RFID Tag กันอย่างแพร่หลาย โดยนำมาใช้แทนระบบบาร์โค้ดแบบเดิม เนื่องจาก RFID มีความสะดวกสบายในการใช้งานมากกว่า
ไม่จำเป็นต้องนำวัตถุมาอ่านด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ด เพียงแค่นำวัตถุที่ติด Tag ไปผ่านบริเวณที่มีเครื่องอ่านสัญญาณก็จะสามารถอ่านค่าได้ทันที
ทำให้สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ RFID ในปัจจุบัน
ได้แก่ (กมลชนก ใยปางแก้ว, 2552 : 15-17)
1) การใช้ระบุเอกลักษณ์บุคคล ในงานด้านการรักษาความปลอดภัยของอาคาร โดยจะฝัง Tag ไว้ใต้ผิวหนังของบุคคลที่มีสิทธิในการเข้าออกพื้นที่ต่างๆ ของอาคาร
ซึ่งเครื่องอ่านสัญญาณจาก Tag ที่ฝังไว้จะประมวลผลได้ว่า
จะอนุญาตให้บุคคลนั้น ผ่านเข้าไปในบริเวณที่กำหนดไว้ได้หรือไม่
2) การใช้งานในเชิงพาณิชย์ เพื่อการทำสต๊อกสินค้า และการขายสินค้า
โดยนำมาใช้แทนรหัสบาร์โค้ดแบบเดิม เนื่องจาก RFID มีคุณสมบัติที่สามารถตรวจสอบตำแหน่งของวัตถุได้ด้วยข้อมูลใน Tag ทำให้การตรวจสอบสินค้าทำได้สะดวก สามารถรู้ตำแหน่งของสินค้าแต่ละชิ้นที่อยู่ในร้านได้ทันที
การอ่านค่าจาก Tag ก็ทำได้อย่างรวดเร็วกว่าบาร์โค้ด
และบรรจุข้อมูลได้หลากหลายกว่า
ทราบราคาสินค้าที่ตนเองเลือกซื้อทั้งหมดจากหน้าจอ LCD และรายการโปรโมชั่นต่าง
ๆ
3) การใช้งานในด้านการจราจร/ขนส่ง มีการประยุกต์ใช้ระบบ RFID กับการคำนวณค่าขึ้นลงทางด่วน โดยรถที่ต้องการใช้ทางด่วน จะติด Tag ไว้บริเวณกระจกหน้า
เมื่อรถแล่นผ่านเครื่องอ่านสัญญาณบริเวณทางขึ้นและทางลง
เครื่องจะทำการคำนวณค่าใช้จ่ายให้โดยอัตโนมัติ
4) หนังสือเดินทางและใบขับขี่ของหลายประเทศในปัจจุบันได้ฝัง RFID
Tag ไว้ โดยภายใน Tag ที่ฝังไว้จะมีข้อมูลของบุคคลที่เป็นเจ้าของ
เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันทีที่เดินผ่านบริเวณเครื่องอ่านสัญญาณ
ทำให้เพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ
และช่วยในการรักษาความปลอดภัยในมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5) เครื่องอ่านระดับน้ำตาล เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่เป็นเบาหวานจะต้องเจาะเลือดที่นิ้วตนเองเพื่อนำเลือดมาทดสอบและฉีดInsulin ให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา บริษัท VeriChip จึงได้คิดเทคโนโลยีใหม่นี้ขึ้นมา
ซึ่งจะเป็นการนำเอา implantable RFID chipมาประยุกต์ใช้ร่วมกับ glucose
sensor ฝังเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย
หลังจากนั้นจะให้ใช้เครื่องอ่าน RFID อ่านระดับน้ำตาลจากRFID
chip ที่ฝังอยู่ได้เลย
6) ระบบงานห้องสมุด เป็นการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในกระบวนการยืมคืนหนังสือและสื่อโสตทัศน์ด้วยตนเอง
ห้องสมุดแต่ละแห่งพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บรายละเอียดทางบรรณานุกรมและสถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศ
เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศแต่ละรายการของห้องสมุด
โดยทรัพยากรสารสนเทศแต่ละรายการจะได้รับตัวเลขที่เฉพาะรายการ (บาร์โค้ด)
ซึ่งไม่ได้มีความสัมพันธ์กันระหว่างชื่อผู้แต่ง และชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศรายการนั้น
ๆ การยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ด ผู้ใช้ต้องติดต่อขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์/เจ้าหน้าที่
จากนั้นบรรณารักษ์/เจ้าหน้าที่จะนำแถบบาร์โค้ดที่ติดกับทรัพยากรสารสนเทศนั้นไปไว้ในบริเวณที่เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด
โดยสามารถอ่านได้ทีละเล่ม แต่สำหรับเทคโนโลยี RFID นั้นมีลักษณะคล้ายกับบาร์โค้ดและยังสามารถรองรับความต้องการอีกหลาย ๆ
อย่างที่บาร์โค้ดไม่สามารถตอบสนองได้ กล่าวคือ
เทคโนโลยีบาร์โค้ดเป็นระบบที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่บนบาร์โค้ดได้
แต่ป้าย RFID สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากตัวเลขและเพิ่มเติมข้อมูลภายหลังได้
นอกจากนี้ระบบเทคโนโลยี RFID เป็นเทคโนโลยีที่สามารถส่งข้อมูลทุกอย่างผ่านคลื่นความถี่วิทยุ
ดังนั้นการอ่านข้อมูลจากป้าย RFID จึงไม่ต้องป้ายข้อมูลอยู่ในบริเวณที่เครื่องอ่านอ่านได้
และผู้ใช้สามารถยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศได้ด้วยตนเอง
นอกจากนี้เมื่อมีการยืมคืนผ่านเทคโนโลยี RFID ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศจะถูกปรับปรุงข้อมูลเป็นปัจจุบันทันที
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า
มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID กันอย่างแพร่หลายด้วยคุณสมบัติที่สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
และสามารถใช้อ่านข้อมูลจากวัตถุที่มีการเคลื่อนที่อยู่ก็ได้ ทำให้ RFID เป็นทางเลือกใหม่สำหรับการระบุเอกลักษณ์ และการรับส่งข้อมูลในระยะห่างกัน
จึงมีการนำมาใช้มากขึ้นในธุรกิจและการให้บริการต่าง ๆ ในปัจจุบัน
เป็นยุคการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
วิวัฒนาการการให้บริการอ้างอิงและสารสนเทศในประเทศไทย
พัฒนาการการให้บริการอ้างอิงและสารสนเทศของห้องสมุดในประเทศไทย
อาจย้อนไปกับการเกิดแหล่งให้บริการข้อมูลในอดีตของไทย ก่อนเกิดระบบการศึกษา
จนกระทั่งมีการจัดตั้งห้องสมุดอย่างเป็นระบบ
ยุคแรกอาจเริ่มต้นตั้งแต่สมัยสร้างกรุงสุโขทัย เป็น ราชธานีเป็นต้นมา
จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้เพราะประเทศไทย มีอักษรไทย
ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย การมีตัวอักษรใช้ย่อมหมายถึงการมีหนังสือใช้
และเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดสถานที่เก็บรักษาและรวบรวมหนังสือเหล่านั้น
สมัยกรุงสุโขทัย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เป็นครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 1826 และต่อมาเมื่อ
พ.ศ. 1835 ในรัชกาลเดียวกันก็ปรากฏมีวรรณกรรมไทยชิ้นแรกคือ
ศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งจารึกพระราชประวติและพระเกียรติคุณ
ของพ่อขุนรามคำแหงใหาราช และขนบธรรมเนียม ตลอดจนเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับกรุง
สุโขทัย ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทก็มี หลักศิลาจารึกอื่น ๆอีกจำนวนมาก
และยังมีหนังสือ ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของพระองค์คือ
"ไตรภูมิพระร่วง" ซึ่งย่อมแสดงว่าพระองค์ได้
ทรงรวบรวมพระไตรปิฎกและหนังสือพุทธศาสนาไว้เป็นจำนวนมาก และทรงศึกษาจนแตกฉาน
จึงสามารถทรงนิพนธ์หนังนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏหลักฐานที่แสดงว่าได้มีการจัดตั้งหอสมุด
ขึ้นในสมัยดังกล่าว (สุพรรณี วราทร 2523 : 17)
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยนี้ได้มีการจัดตั้งสถานที่เก็บรักษาหนังสือ
ตำรา และจดหมายเหตุ ราชการบ้านเมือง เรืยกว่า หอหนังสือหลวง
ซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวัง แต่ก็ไม่มีการจัดตั้งห้องสมุด หรือสถานที่เก็บรักษา หนังสืออื่นใด
ทั้ง ๆ ที่ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ ปกครองหลายพระองค์
มีวรรณกรรมเฟื่องฟู และมีการติดต่อกับต่างประเทศ ที่เจริญก้าวหน้าด้านวิทยาการ
จึงสันนิษฐานว่า นอกจากหอหลวงในพระราชวังแล้ว น่าจะมีการเก็บรักษา
หนังสือและใบลานไว้ตามวัด ณ สถานที่ซึ่งเรียกว่า "หอไตร"
ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมคัมภีร์ และ ใบลานประจำวัดสืบมาจนถึง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเปลี่ยนชื่อ
สถานที่เก็บรักษาใบลานและ หนังสือธรรมประจำวัดจาก "หอไตร" เป็น"หอธรรม"
ซึ่งใน ปัจจุบันนี้นิยมเรียกว่า "หอสมุด"
โรงเรียนหนังสือไทยและสำนักเรียนปริยัติธรรมที่เจริญแล้วทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคนิยมสร้าง
หอสมุดเก็บรวบรวมหนังสือต่าง ๆ เพื่อนักเรียน
และผู้สนใจค้นคว้าหาความรู้อันเป็นวิธีเผยแพร่ ศาสนาและวิทยาการอีกส่วนหนึ่ง
อย่างไรก็ดี หนังสือในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้กระจัดกระจาย เสียหายไปเป็นอัน มากเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง "หอหลวง"
ขึ้นใหม่ในพระราชวัง และโปรดเกล้าฯ ให้เสาะหาและรวบรวมหนังสือของเก่ามาเก็บไว้
(สุพรรณี วราทร 2523 : 17-19)
สมัยกรุงรัตนโกลินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้ทรงสถาปนากรุงเทพเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2325 และต่อมา ในปี พ.ศ. 2326ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างวัดพระ ศรีรัตนศาสดาราม พร้อมด้วย
"หอพระมณเฑียรธรรม" เพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก ของหลวง ต่อมาถูกเพลิงไหม้เสียหาย
กรมพระราชวังบรมมหาสุรสีหนาท จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมถวายอีกหลังหนึ่ง ณ มุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือในวัดพระ ศรีรัตนศาสดาราม จึงนับว่า "หอพระมณเฑียรธรรม" นี้เป็นห้องสมุดแห่งแรก
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในลักษณะที่เกป็นสถานที่เก็บรักษาหนังสือ (สุพรรณี วราทร 2523
: 20) ต่อมาใน พ.ศ. 2332พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำการปฎิสังขรณ์วัดโพธารามซึ่งเป็นวัดเก่า
ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งอยู่ติดกับพระบรมมหาราชวังและชำรุดทรุดโแรมมาก
การบูรณะปฎิสังขรณ์นี้ใช้เวลานานถึง 12 ปี
จึงสำเร็จลงเมื่อ พ.ศ. 2344 และได้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า
"วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส"
ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยน นามเป็น
"วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" การปฎิสังขรณ์นี้
นอกจากเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยการสร้างถาวร วัตถุและอาคารต่าง ๆ
ที่จำเป็นสำหรับพระสงฆ์และศาสนพิธีแล้ว ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้ สร้างศาลาราย 70 ศาล
และให้นำแผ่นศิลาจารึก แบบแผนคำประพันธ์ ตำรายา และการ
แพทย์แผนโบราณติดไว้ตามเสาระเบียงและศาลา และสร้างรูปหล่อฤาษีดัดตน กระถางปลูก
ต้นยา ภาพจากวรรณคดีชาดกและภาพพุทธประวัติไว้ที่ผนังในพระวิหารอีกด้วยเพื่อเป็น
วิทยาทานแก่คนทั่วไป จึงนับได้ว่า วัดพระเชตุพน
เป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกในประเทศไทย (รำภีร์ กุลสมบูรณ์ 2508 : 3) และนับว่าเป็นแหล่งให้บริการอ้างอิงและสารสนเทศ ที่สำคัญในสมัยนั้น
แม้จะไม่มีการจัดตั้งห้องสมุดในระยะก่อนการจัดตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ
ใน พ.ศ. 2324 ก็ตาม แต่ความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ในด้านต่างๆ ซึ่งเอื้อต่อพัฒนาการ
ด้านวรรณกรรมและห้องสมุดในสมัยนั้น ได้แก่ ความเจริญด้านการศึกษา
การพิมพ์และกิจการ หนังสือพิมพ์ ตลอดจนสภาพสังคม
ทำให้มีการจัดตั้งห้องสมุดส่วนตัวโดยพระบรมวงศานุวงศ์และ ข้าราชการชั้นสูง
ในสมัยนั้นเป็นจำนวนมาก
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลง และเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ
อันเป็นผลจากอารยธรรมตะวันตกซึ่งได้แพร่เข้ามาในประเทศไทย
ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ่งที่ช่วยพัฒนาในกิจการห้องสมุด
ได้แก่ ความเจริญก้าวหน้า
โดยมีการตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่งทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด และ
การส่งนักเรียนไปศึกษาต่างประเทศ
ความเคลื่อนไหวด้านห้องสมุดในรัชกาลนี้เริ่มขึ้นเมื่อกลุ่มสมาคมสตรี (Ladies Bazaar Association) ซึ่งเป็นสมาคมการกุศลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2409 ได้จัดงานรายได้มาบำรุงกิจการของคณะมิชชันนารีเพรสใบทีเรียนเมื่อวันที่ 25 ธันวา คม พ.ศ. 2411 และได้นำเงินนี้จัดตั้งห้องสมุดขึ้นเพื่อให้บริการแก่สมาชิกที่เสียค่าบำรุง
เรียกชื่อว่า "ห้องสมุดสตรีสำหรับสำหรับให้ยืมหนังสือ" (Ladies
Circulating Library) ขึ้นในจังหวัดพระนคร และต่อมาดำเนินงาน
โดยสมาคมสตรีกรุงเทพฯ (Bangkok Ladies' Libaray Association) จนถึง พ.ศ. 2463 จึงย้ายมาอยู่อาคารใหม่
ริมถนนสุรวงศ์ซึ่ง นายแพทย์ เนียลสัน เฮยส์
ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นางเจนนี เนียบสัน เฮยส์
ผู้เป็นภรรยาและเป็นนายกสมาคมห้องสมุดมาถึง 4 สมัย
และได้ดำเนินงานห้องสมุดแห่งนี้มาเป็น? เวลานานถึง 25 ปี ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงชื่อห้องสมุดเป็น "ห้องสมุดเนียลสัน
เฮยส์" ซึ่ง ยังคงเปิดดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ 2520:
108-116) นับว่าเป็นการให้บริการสารสนเทศตามแนวความคิดของการให้
บริการสารสนเทศแบบเดียวกับการให้บริการในต่างประเทศ
เมื่อมีการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนของกระทรวงศึกษาธิการ
โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทำหน้าที่เป็นเป็นแหล่งให้บริการสารสนเทศ แก่ประชาชนเมื่อ
พ.ศ. 2459 เป็นต้นมา แสดงให้เห็นว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของประเทศในขณะนั้นเห็นความสำคัญของ
การให้บริการสารสนเทศเพื่อนำมาใช้พัฒนาคนในการพัฒนาประเทศ
ห้องสมุดประชาชนระยะแรกที่จัดตั้งขึ้นนี้มีชื่อเรียกว่า
ห้องอ่านหนังสือสำหรับประชาชน จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นที่รวบรวมหนังสือต่าง ๆ
ที่เป็นความรู้ มีประโยชน์แก่ประชาชน และเปิดบริการ ให้ประชาชนทุกขั้นเข้าอ่านได้
ในครั้งแรกได้จัดตั้งห้องสมุดหนังสือสำหรับประชาชน
ขึ้นสามแห่ง คือ ที่โงเรียนวัดสุทัศน์ โรงเรียนวัดสามจีนใต้ จังหวัดพระนคร
และที่โรงเรียน วัดประยูรวงศาวาส ในปีต่อมาก็ได้เปิดห้องอ่านหนังสือสำหรับประชาชนเพิ่มขึ้นอีกสองแห่ง
คือ ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา และ ณ ที่ว่าการอำเภอชัยภูมิ
จังหวัดชัยภูมิ และต่อ มาใน พ.ศ. 2461 ได้มีการจัดตั้งห้องอ่านหนังสือสำหรับประชาชน
เพิ่มขึ้นอีกสี่แห่งในจังหวัด บุรีรัมย์ คือ ณ ที่ว่าการอำเภอเมือง ณ
ที่ว่าการอำเภอพุทไธสง ณ ที่ว่าการอำเภอนางรอง และ ณ ที่ว่าการอำเภอตลุง
รวมมีห้องสมุดหนังสือสำหรับประชาชนเมื่อ พ.ศ. 2461 รวมทั้งสิ้น 9 แห่ง
(แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์ 2520 : 8-9) ห้องอ่านหนังสือสำหรับประชาชนหรือห้องสมุดประชาชนของกระทรวงศึกษาธิการ
ระยะแรกได้สิ้งสุดลงเมื่อ พ.ศ. 2471
หลังจากที่ห้องสมุดประชาชนของกระทรวงศึกษาธิการระยะแรกสิ้นสุดลงประมาณ 20 ปี
ห้องสมุดประชาชนของกระทรวง ศึกษาธิการ ระยะที่สองจึงเกิดขึ้นโดยมีผลเนื่องมา
จากการจัดการศึกษาผู้ใหญ่ในประเทศไทยซึ่งเริ่มจัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2483 โดยคณะรัฐมนตรี
มีมติให้กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งกองการศึกษาผู้ใหญ่โดยให้สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการและให้กระทรวง ทบวง กรม อื่น ๆ เป็นผู้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ ต่อมา
ในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลมีนโยบายที่จะจัดการศึกษาผู้ใหญ่ให้เป็นไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
และให้เหมาะสมกับสถานการณ์ จึงได้มีการขยายรูปงานใหม่ 4 ด้าน คือ การศึกษาขั้นมูลฐาน การอาชีวศึกษาผู้ใหญ่ การมัธยมศึกษา
และการศึกษาประชาชน ในงานด้านการศึกษาประชาชน
นี้เองที่รัฐบาลได้วางนโยบายให้จังหวัดต่าง ๆ เริ่มจัดตั้งห้องสมุดประชาชนขึ้น
เมื่อ พ.ศ. 2494 และกองการศึกษาผู้ใหญ่ได้โดนมาสังกัดในกรมประชาศึกษา
ต่อมา
ใน พ.ศ. 2495 กรมประชาศึกษาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมสามัญศึกษา
กองการศึกษาผู้ใหญ่ก็ยังคงสังกัดในกรม สามัญศึกษาตามเดิม
งานห้องสมุดประชาชนก็จัดเป็นหน้าที่ของ แผนกการศึกษาประชาชน
กองการศึกษาผู้ใหญ่กรมสามัญศึกษา การจัดตั้งห้องสมุดประชาชนระยะที่สองนี้ได้ขยายตัวขึ้น
คือ มีการจัดตั้งห้องสมุด ประชาชนอำเภอในปี พ.ศ. 2495 โดยมติของคณะรัฐบาลให้จัดตั้งห้องสมุดประชาชน ตามอำเภอต่าง ๆ อำเภอละ 1 แห่ง และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวง
มหาดไทยร่วมมือกันดำเนินการ กระทรวงศึกษาธิการเป็นฝ่ายดำเนินการ ส่วนกระทรวง
มหาดไทยเป็นฝ่ายจัดหาสถานที่
รัฐบาลเห็นความสำคัญของกิจการห้องสมุดประชาชน
ที่จะเป็นศูนย์กลางการให้ การศึกษาของประชาชน
จึงได้ประกาศให้ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเป็นสถานศึกษา สังกัด กองการศึกษาผู้ใหญ่
กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 19ธันวาคม พ.ศ. 2516 (กรมสามัญศึกษา 2517: 1) โดยกำหนดหน้าที่
ดังนี้
1. ให้การศึกษานอกโรงเรียนแก่ประชาชนทั่วไป
2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่านและการศึกษาค้นคว้า
3. ให้บริการทางข่าวสารและความรู้ต่าง ๆ
เพื่อให้ประชาชนเป็นคนทันต่อเหตุการณ์
4. ส่งเสริมและแนะนำให้ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติ และสามารถปฎิบัติตนเป็น
พลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย
5. ส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม
6. ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
เมื่อประเทศไทยได้เริ่มใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เมื่อ ปี พ.ศ.2503 เป็นฉบับแรก ได้วางแผนเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ภายในชาติ สนับสนุนการจัดการให้การศึกษาในทุกระดับ
ตั้งแต่ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ทำให้สถานศึกษา
ต่างๆหันมาสนใจในการจัดตั้งห้องสมุด และจัดให้มีบริการอ้างอิงแก่ผู้ใช้
ผู้ที่ทำหน้าที่ในการให้บริการคือ บรรณารักษ์ของห้องสมุดนั่นเอง
สภาพของการให้บริการอ้างอิงในห้องสมุดแต่ละแห่ง
จึงแตกต่างกันไป ตามสภาพของการบริหารงานในสถานศึกษาต่างๆ
ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย มีความได้เปรียบ
ในการจัดการให้บริการได้ดีกว่าห้องสมุดประเภทอื่นๆ
แต่ไม่ว่าห้องสมุดจะเป็นประเภทใด บรรณารักษ์ในแต่ละแห่ง จะพยายามทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์ในการตอบคำถามแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
การบริการอ้างอิงในยุคแรกๆจึงเป็นบริการตอบคถาม
เพื่อช่วยแนะนำผู้ใช้ห้องสมุดให้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุดเป็นสำคัญ
แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
โลกแห่งอนาคตจะเขาสู่ยุค
:นิเวศอิเล็กทรอนนิกส์: (Digital
Ecosystem) บนสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้
คือมีการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานร่วมกันเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มและมีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศระหว่างกลุ่ม
และจะมีลักษณะกลุ่มแบบกลุ่มเสมือน (Virtue) และจะก้าวสู่ “ นิเวศอิเล็กทรอนิกส์” ในที่สุด
-
การเข้าสู่นิเวศอิเล็กทรอนิกส์
การพัฒนาของระดับการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร
ตั้งแต่การใช้อีเมล์เพื่อติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร
จนถึงการใช้เว็บไซด์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลและสารสารสนเทศจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
(Stakeholder) ต่างๆขององค์กร และก้าวสู่ระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ที่มีการซื้อ-ขายสินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
-
อนาคตกับการทำงานและการใช้ข้อมูลข่าวสาร
รูปแบบของการทำงานในอนาคตนั้น
จะเน้นการทำงานบนพื้นฐานของการใช้ข้อมูลสารสนเทศ
และความรู้ในการตัดสินใจในการทำงานและดำรงชีวิตประจำวัน ดัง
นั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมของตนเอง
เพื่อเข้าสู่อนาคตในโลกของการทำงานบนพื้นฐานของความเป็นจริง
-อนาคตของเทคโนโลยี
1.การรวมตัวกันของเทคโนโลยี(Convergence)
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์
การสื่อสาร รวมถึงประเภทอื่นๆ
2.ต้นทุนที่ถูกลง(Cost Reduction)
เทคโนโลยีสารสนเทศมีคุณสมบัติที่ทำให้มีราคา
และการเป็นเจ้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศถูกลงเป็นอย่างมาก
ทั้งในส่วนของอัตราค่าบริการสื่อสารโทรคมนาคม
.
3.การพัฒนาอุปกรณ์ที่เล็กลง(Miniaturization)
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศหลากหลายประเภท
รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงกว่าแต่เดิมมาก
ด้วยวิวัฒนาการของไมโครชิป ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น
4
. การพกพาและเคลื่อนที่(Portability
Mobility)
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
5
.การประมวลผลที่ดีขึ้น(Processing
Power)
การประมวลผลที่ดีขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มของการประมวลผลที่ดีขึ้น
6.
การใช้งานที่ง่าย (User
Friendliness)
การพัฒนาโปรแกรมในปัจจุบันมีการออกแบบส่วนประสานงานกับผู้
เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงานให้และดียิ่งขึ้น
7.
การเปลี่ยนจากอะตอมเป็นบิต (Bits Versus Atoms)
ทิศทางความนิยมและการกระจายของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรวดเร็ว
ผ่านการใช้งานโดยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
8.
สื่อผสม (Multimedia)
เทคโนโลยีสารสนสามารถเผยแพร่สารสนเทศที่เป็นแบบสื่อผสม
(Multimedia) มากขึ้น
9.
เวลาและภูมิศาสตร์ (Time
& distance)
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะเงื่อนไขด้านเวลา
และภูมิศาสตร์ได้เป็นอย่างมาก เช่น การประชุมทางไกล (Teleconference) เป็นการแก้ไขปัญหาขององค์กรที่มีขนาดใหญ่
สรุป
เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
มีบทบาทในการกระจายข่าวสารไปยังท้องถิ่นต่าๆสังเกตได้จากระบบโทรศัพท์ที่ถูกพัฒนาให้สามารถติดต่อกันได้แบบไร้สาย
คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารแบบไร้สายขีดจำกัดด้านพรมแดน มุ่งสู่ยุคโลกาภิวัตน์
การก่อกำเนิดของ
เทคโนโลยีเหล่านี้
มีผลตามมาทั้งแง่ลบและแง่บวกเสมอ
จึงต้องใช้โดยอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/
http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson1-1.asp#use
http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/introduction_to_information_technology/01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น