เครื่อนข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น
เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น
เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง
มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร
การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน
หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู
แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ
ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น
ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น
มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ
มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์
หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง
และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ
ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน
ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน
โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน
จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน
ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้
อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
1. ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่ออสารข้อมูลได้หลายช่องทางในระบบเครือข่าย โดยการขยายสัญญาณที่ส่งผ่านมา ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านสายเคเบิลได้ไกลขึ้น ปัจจุบันฮับมีความเร็วในการสื่อสารแบบ 10/100/1000 Mbps ลักษณะการทำงานของฮับจะแบ่งความเร็วตามจำนวนช่องสัญญาณ (Port) ที่ใช้งานตามมาตรฐานความเร็ว ความเร็วเป็นแบบ 10 Mbps มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อในระบบ 5 เครื่อง แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารกันภายในระบบโดยใช้ความเร็วเท่ากับ 10/5 คือ 2 Mbp 2. สวิตช์ (Switch) สวิตช์หรืออีเทอร์เน็ตสวิตช์ (Ethernet Switch) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่าย คล้ายกับฮับ ต่างกันตรงที่ลักษณะการทำงานและความสามารถในเรื่องของความเร็วการทำงานของสวิตช์ ไม่ได้แบ่งความเร็วตามจำนวนช่องสัญญาณ (Port) ตามมาตรฐานความเร็วเหมือนฮับ โดยแต่ละช่องสัญญาณ (Port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว เช่น ระบบเครือข่ายใช้มาตรฐานความเร็วเป็นแบบ 100 Mbps และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อในระบบ 5 เครื่อง แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารกันภายในระบบโดยใช้ความเร็วเท่ากับ 100 Mbps 3. เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายต่างชนิดกันหรือใช้โปรโตคอลต่างกัน เข้าด้วยกัน คล้าย ๆ กับ Bridgeแต่ลักษณะการทำงานของ Router นั้นจะซับซ้อนกว่าเพราะนอกจากจะเชื่อมต่อแล้วยังเก็บสภาวะของเครือข่ายแต่ละส่วน (Segment)ด้วย และสามารถทำการกรอง (Filter)หรือเลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูลและเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่ายซึ่งสภาวะของระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันนี้ Routerจะจัดเก็บในรูปของตารางที่เรียกว่า Routing Table ซึ่งตาราง Routing Tableนี้จะมีประโยชน์ในด้านของความเร็วในการหาเส้นทางการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบเครือข่ายโดยเฉพาะกับระบบเครือข่ายที่ซับซ้อนมาก ๆ เช่น ระบบ MAN, WANหรือ Internet
4. เกตเวย์ (Gateway)
Gateway
เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC)เป็นต้น
Gateway
ประตูสื่อสาร
ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
โดยทำให้ผู้ใช้บริการของคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือในข่ายงานหนึ่งสามารถติดต่อเข้าสู่เครื่องบริการหรือข่ายงานที่ต่างประเภทกันได้ ทั้งนี้โดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "บริดจ์" (bridges) โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำให้การแปลข้อมูลที่จำเป็นให้ นอกจากในด้านของข่ายงาน เกตเวย์ยังเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) สองข่ายงานที่มีลักษณะ ไม่เหมือนกันให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่เข้ากับข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) หรือต่อเข้ากับมินิคอมพิวเตอร์หรือต่อเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากเกตเวย์มีไมโครโพรเซสเซอร์และหน่วยความจำของตนเอง
Gateway
จะเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถมากที่สุดคือสามารถเครือข่ายต่างชนิดกันเข้าด้วยกันโดยสามารถเชื่อมต่อ LAN ที่มีหลายๆโปรโตคอลเข้าด้วยกันได้
และยังสามารถใช้สายส่งที่ต่างชนิดกัน ตัวgateway จะสามารถสร้างตาราง ซึ่งสารารถบอกได้ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไหนอยู่ภายใต้ gatewayตัวใดและจะสามารถปรับปรุงข้อมูลตามเวลาที่ตั้งเอาไว้
Gateway
เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง
ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย
และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย
หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบgateway ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง routerและ switch
Gateway
เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล
หน้าที่หลักของเกตเวย์คือช่วยทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์2 เครือข่ายหรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน
คือลักษณะของการเชื่อมต่อ(Connectivity ) ของเครือข่ายที่แตกต่างกัน
และมีโปรโตคอลสำหรับการส่ง - รับ ข้อมูลต่างกัน เช่นLAN เครือหนึ่งเป็นแบบ Ethernet และใช้โปรโตคอลแบบอะซิงโครนัสส่วน LAN อีกเครือข่ายหนึ่งเป็นแบบ Token Ring และใช้โปรโตคอลแบบซิงโครนัสเพื่อให้สามารถติดต่อกันได้เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน
เพื่อจำกัดวงให้แคบลงมา เกตเวย์โดยทั่วไปจะใช้เป็นเครื่องมือส่ง -
รับข้อมูลกันระหว่างLAN 2เครือข่ายหรือLANกับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือระหว่าง LANกับ WANโดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะเช่น X.25แพ็คเกจสวิตซ์ เครือข่าย ISDN เทเล็กซ์
หรือเครือข่ายทางไกลอื่น ๆ
5. โมเด็ม (Modem)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากดิจิตอล (Digital)ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog)และจากสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลโมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ
ในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะโมเด็มทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ คอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณที่อุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ในระบบเครือข่ายสามารถเข้าใจได้หลังจากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลต้องมีโมเด็มเพื่อแปลงสัญญาณจากอุปกรณ์สื่อสารให้เป็นสัญญาณ ที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ซึ่งความสามารถของโมเด็มสามารถวัดได้จากความเร็วในการรับส่งข้อมูลจำนวน 1บิตต่อ 1 วินาที (บิตต่อวินาที) หรือ bps (bit per second) ปัจจุบัน Modemมีสองประเภท คือ โมเด็มที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง (Internal Modem)และโมเด็มที่ไม่ได้ติดตั้งไว้ในเครื่อง (External Modem)ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม 6. การ์ดแลน (LAN Card) การ์ดและหรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “การ์ดอีเธอร์เน็ต” มีไว้ใช้รับ/ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีสายเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเรียกสายนี้ว่า “สายแลน” การเชื่อมต่อเครือข่ายจะช่วยให้เราสามารถแลกเปลี่ยนข ้อมูลกันระหว่างเครื่องได้สะดวกขึ้นอีกทั้งทำให้เราส ามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ง่ายๆ เพียงให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลักเชื่อมต่ออินเ ทอร์เน็ต แล้วเครื่องอื่นๆ ก็ใช้การแชร์อินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายแลน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกด้วย สำหรับความเร็วของการ์ดและในปัจจุบันจะอยู่ที่ 100 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) และเริ่มเข้าสู่แลนในระดับความเร็วถึง 1,000 เมกะบิตต่อวินาที หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “กิกะบิตแลน (Gigabit LAN)” 7. สื่อนำสัญญาณ (Tranmission Media) สื่อนำสัญญาณที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้ 1. สายสัญญาณ - สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) - สายคู่เกลียวบิด (Twisted Pairs) - สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) 2. สื่อไร้สาย (Wireless) - สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณที่ใช้เป็นสื่อกลางการเดินทางของข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(computer network) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้และเป็นที่นิยมมากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สายสัญญาณอีกประเภทหนึ่ง คือ สายคู่เกลียวบิดและสายใยแก้วนำแสง ส่วนสายโคแอ็กซ์เชียลถือว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบเครือข่ายบางประเภทที่ใช้สายแบบนี้อยู่ สายโคแอ็กซ์เชียลมักถูกเรียกสั้นๆว่า สายโคแอ็กซ์(coax) มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ คือ มีแกนร่วมกัน นั่นหมายความว่า ตัวนำไฟฟ้าทั้งสองตัวมีแกนร่วมกันนั่นเอง โครงสร้างของสายโคแอ็กซ์ประกอบไปด้วย สายทองแดงป็นแกนกลาง ห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง เป็นแผ่นโลหะบางหรืออาจเป็นใยโลหะที่ถักเป็นเปียหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ชั้นสุดท้ายเป็นฉนวนหุ้มและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ ส่วนที่เป็นแกนของสายทำหน้าที่นำสัญญาณข้อมูล ชั้นใยข่ายจะเป็นชั้นที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดินไปในตัว ดังนั้น ทั้งสองส่วนนี้จึงไม่ควรเชื่อมต่อกัน เนื่องจากจะทำให้ไฟช็อตได้ - สายคู๋บิดเกลียว (Twisted Pairs) สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) เมื่อก่อนเป็นสายสัญญาณที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นมาตรฐานสายสัญญาณที่เชื่อมต่อในเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) สายคู่บิดเกลียวหนึ่งคู่ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.016-0.035 นิ้ว หุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็นเกลียวเป็นคู่ การบิดเป็นเกลียวของสายแต่ละคู่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รบกวนซึ่งกันและกัน สายคู่เกลียวบิดที่มีขายในท้องตลาดมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งสายสัญญาณอาจประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียวตั้งแต่หนึ่งคู่ไปจนถึง 600 คู่ในสายขนาดใหญ สายคู่บิดเกลียวที่ใช้กับเครือข่าย LAN จะประกอบด้วย 4 คู่ สายคู่บิดเกลียวที่ใช้ในเครือข่ายแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ - STP (Shielded Twisted Pairs) หรือสายคู่บิดเกลียวหุ้มฉนวน - UTP (Unshielded Twisted Pairs) หรือสายคู่บิดเกลียวไม่หุ้มฉนวน Shielded Twisted Pairs (STP) สายคู่บิดเกลียวแบบมีส่วนป้องกันสัญญาณรบกวน หรือ STP (Shielded Twisted Pairs) มีส่วนที่เพิ่มขึ้นมาคือ ส่วนที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ซึ่งชั้นป้องกันนี้อาจเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หรือใยโลหะที่ถักเปียเป็นตาข่าย ซึ่งชี้นป้องกันนี้จะห่อหุ้มสายคู่บิดเกลียวทั้งหมด ซึ่งจุดประสงค์ของการเพิ่มขั้นห่อหุ้มนี้เพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุจากแหล่งต่างๆ Unshielded Twisted Pairs (UTP) สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีส่วนป้องกันสัญญารรบกวนหรือ UTP (Unshielded Twisted Pairs) เป็นสายสัญญาณที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่าสาย UTP เป็นสายสัญญาณที่นิยมใช้กันมากที่สุดในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน ซึ่งการใช้สายนี้ความยาวต้องไมเกิน 100 เมตร - สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics)
เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง
ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก
เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา
เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้
โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก
เส้นใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด
คือ เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)
เว็บบล็อก
Web
Blog หรือ Blog คือเวบไซค็ทีให้พื้นที่ส่วนตัวแก่ผู้ใช้บริการ
โดยมีฟั่งชั่นต่างต่างให้เลือกใช้งาน เช่นพื้นที่สำหรับเขียนประวัติ ไดอารี่
กล่องบทความ อัลบั้มรูป เวบบอร์ด สามารถโพสบทความหรือเรื่องราวของสินค้า
กิจกรรมที่บริษัทดำเนินการ ปรับแต่งหน้าตาได้เหมือนเวบไซค์
สามารถจดทะเบียนเป็นชื่อเจ้าของได้ เชื่อมต่อ social network เช่น facebook ,Tweeter ,Goolgle โพสคลิบวีดีโอ
หรือ ทำเป็นอัลบั้มรูปถ่ายสินค้าส่วนตัว
ทีสำคัญ blog สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ง่าย
ข้อมูลจะสามารถเก็บไว้ได้ตลอด สามารถเก็บไว้ดูเองหรือจะเปิดให้ผู้อืนเข้ามาดูได้
หรือใช้ในรูปสมาชิกก็ได้ ปัจจุบันนิยมใช้ Blog เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์
แจ้งข่าวสารให้กับลูกค้า เช่น ถ้าเราทำร้านค้าออนไลท์
จะพบว่าการที่ใครจะเข้ามาซื้อของเราไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากการแข่งขันสูง
ความเชื่อมั่นในตัวสินค้า ดังนั้นเราจำเป็นต้องสร้างBlog ขึ้นมาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้า อธิบายรายละเอียด ให้ความรู้เกี่ยวกับคำแนะนำสินค้า เรานำ Blog เข้ามาจัดการ เนื่องจาก Web Blog สามารถ up
date ได้ง่าย และมีการให้ข่าวสาร
หรือเรื่องที่ใกล้เคียงสินค้า เพื่อแนะนำให้คนเข้ามายังเวบไซค์ร้านค้าออนไลน์
ด้วยการเชื่อม Blog กับเวบไซค็หลักของเรา
สำหรับ Web Blog ที่กำลังมาแรง
และสามารถทำได้ง่าย คือ Blogger.com ซึ่งมีรูปแบบให้เลือกมากมาย
และ น่าทดลองใช้ สำหรับ Blog ที่ผู้เขียนทำจาก Blogger
IPTV คืออะไร
Internet
Protocol Television หรือ IPTV คือการนำเอาเทคโนโลยีโทรทัศน์มาประยุกต์ใช้
ซึ่งแต่เดิมการเผยแพร่ที่เรารู้จักกัน
นั่นคือการเผยแพร่สัญญาณภาพและเสียงผ่านทางคลื่นความถี่ แต่สำหรับ IPTV นั้นคือการนำเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ที่ครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ
จุดเด่นของ IPTV
การมาถึงของ IPTV นั้นยังช่วยสร้างประโยชน์ให้กับทั้งผู้ผลิตสื่อและผู้รับชม
คือนอกจากจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการนำเสนอสื่อ ให้สามารถรับชมรายการต่างๆ
ได้อย่างง่ายดายจากอุปกรณ์หลายชนิด อาทิ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือสมาร์ททีวี
เพียงอาศัยแค่การเข้าถึง ระบบบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต
ในขณะที่ผู้รับชมก็สามารถจัดสรร เลือกรับชม หรือบันทึกรายการโปรดของตัวเอง
ได้ในทุกเวลา ทั้งนี้ด้วยคุณสมบัติข้างต้นที่กล่าวมา
ทำให้เกิดการสร้างรายการรูปแบบแบบอินเตอร์แอคทีฟ ทีวี (Interactive TV) ซึ่งผู้ชมสามารถโต้ตอบและค้นหาข้อมูลของรายการโทรทัศน์เหล่านั้นไปพร้อมกับการรับชม
วิธีการทำงานของ IPTV
หลักการทำงานของ IPTV ทำงานโดยการรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลัก
(Source) หรือจะเรียกว่าเป็นแชนแนลที่ทำการถ่ายทอดรายการต่างๆ
ทำการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมหรือทางลีดไลน์ (Leased Line) ถูกนำมาจัดสรรและจำแนกหมวดหมู่ไว้ยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อส่งสตรีมมิ่งออกไปที่ CDN
(Content Distribution Network) อีกทีหนึ่ง
จากนั้นจึงค่อยทำการส่งข้อมูลจาก CDN เพื่อตอบสนองต่อการเรียกใช้งาน IPTV ที่ผู้ชมต้องการรับชมและแน่นอนว่าสามารถรองรับการเข้าถึงของผู้ชมจำนวนมากได้
โมบายเลิร์นนิง (Mobile-Learning)
การศึกษาแบบ E-Learning หรือบางคนอาจจะเรียกว่าการเรียนแบบออนไลน์(Online Learning) ได้รับความนิยมจากวงการศึกษาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless) เข้ามามีบทบาท และมีการแพร่หลายอย่างมากในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา
อุปกรณ์แบบไร้สายต่างๆ ได้เข้ามาแทนที่อุปกรณ์แบบมีสาย(Wired) ที่เราเห็นได้ชัดคือ “โทรศัพท์มือถือ” เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีแบบไร้สายอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์ไร้สายแบบต่างๆ ก็ถูกพัฒนาตามขึ้นไปด้วย ซึ่งได้แก่ Bluetooth, WAP (Wireless Application Protocol), GRPS (General Packet Radio System) และ UMTS (Universal Mobile Telecommunications System) โมบายเลิร์นนิงเป็นการพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning เป็นการผสมผสานที่ลงตัวของการพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย เราเรียกการเรียนแบบนี้ว่า Wireless Learning, Mobile Learning หรือ m-Learning ดังนั้น m-learning ก็คือ การศึกษาทางไกลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, PDA และแล็ปทอป โดยมีแอปพลิเคชั่นที่สำคัญต่าง ๆ เช่น มีเดียบอร์ดเป็นการเรียนรู้ผ่านระบบ m-Learning โดยเน้นที่การทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเพื่อส่งและรับข้อมูลแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นและครูผู้สอน โดยสามารถส่งข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง มัลติมีเดีย เว็บไซต์ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือที่เรียกว่า Problem-Based Learning ได้เป็นอย่างดี อ้างอิง https://www.gotoknow.org/posts/362129 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น