จริยธรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต คุณธรรมและ จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์
โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ
ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งประกาศซื้อขาย ของผิดกฎหมาย, ขายบริการทางเพศ
ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ เทคโนโลยีที่ทันสมัย
แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ
เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่นและข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง
และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย
ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง
เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002
และแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต
นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำหน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน
จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง
จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย
ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม
และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด
ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต
ในสังคมอินเทอร์เน็ตนั้น
มีทั้งคนดีและคนไม่ดีเช่นเดียวกับสังคมทั่วไป
ผู้ใช้ที่ไม่ระมัดระวังจึงอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ผิดหรือก่อให้เกิดอันตราย ได้
ฉะนั้น วิธีหนึ่งที่จะป้องกันเยาวชนไทยจากปัญหาเหล่านี้ก็คือ
การให้เยาวชนรู้จักกับศิลปะป้องกันตัวในอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรจะรู้และยึดถือปฏิบัติ ดังนี้
1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ โรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
2. หากพบข้อความหรือรูปภาพใดๆ
บนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสม ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
3.
ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก
ผู้ปกครองก่อน และหากผู้ปกครองอนุญาต ก็ควรไปพร้อมกับผู้ปกครอง
โดยควรไปพบกันในที่สาธารณะ
4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ ให้บุคคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต
โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
5. ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคาย
และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
6. ควรเคารพต่อข้อต่อลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ไว้กับผู้ปกครอง
เช่น กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้าได้
คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ
จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร
3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก
ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง
4. คิดก่อนเขียน
5. อย่าใช้อารมณ์
6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบ่อย (FAQ) ก่อนเสมอ
7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่
8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ
9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า
10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน
แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก
11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน
12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด
การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง
ความปลอดภัยในโลกออนไลน์
เทคนิคการรักษาความปลอดภัย ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ด้าน คือ
เทคนิคการรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์ในฐานะของเจ้าของเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการให้เว็บไซต์ถูกคุกคามจากผู้ไม่หวังดี
หรือผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล
และเทคนิคการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
ตลอดจนการสร้างเว็บไซต์ให้เป็นที่น่าเชื่อถือและแสดงออกถึงความปลอดภัยในการเข้ามาใช้งาน
ในประเทศไทยประเด็นเรื่องความไม่ปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์เป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด
ที่ทำให้การพัฒนาด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่มีผู้ใช้งานมากเท่าที่ควร
ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความไม่ปลอดภัยจริง ๆ
แต่บางส่วนเกิดจากความไม่เข้าใจอันจะนำไปสู่ความไม่น่าเชื่อถือ
ทำให้การพัฒนาอีคอมเมิร์ซ ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
ความปลอดภัยจะครอบคลุมถึงความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูลเป็นสำคัญ
เนื่องจากอีคอมเมิร์ซเป็นการทำงานอยู่บนระบบอินเตอร์เน็ต
ทำให้ข้อมูลที่อยู่บนระบบสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะข้อมูลที่สำคัญ เช่น
ข้อมูลด้านการเงินที่ต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้ดีที่สุด จริงๆ แล้ว
การชำระสินค้าออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต
ถือว่าเป็นวิธีการจ่ายเงินที่สะดวกและปลอดภัยทางหนึ่งบนโลกออนไลน์
เพราะมีบริษัทบัตรเครดิตคุ้มครองการชำระเงินอยู่ อีกทั้งยังมีรอบจ่ายที่ยืดเวลา
ทำให้ขณะที่ตัดผ่านบัตรเครดิตยอดเงินยังไม่ได้ถูกชำระจริงในเวลาที่ซื้อ
นี่ยังไม่รวมโปรโมชั่นต่าง ๆ
ของบริษัทบัตรเครดิตที่มอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าในการใช้วงเงิน
แต่ด้วยเหตุผลบางประการทำให้ผู้ซื้อกลับไม่มั่นใจในการชำระสินค้าออนไลน์
ด้วยวิธีนี้มากนัก
อาจเพราะได้ยินข่าวเกี่ยวกับการขโมยข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิตของแฮกเกอร์ แต่กลับไม่กลัวในการใช้บัตรเครดิตกับร้านค้าย่อย
ๆ ไม่เคยตามพนักงานเข้าไปดูว่ามีการทำอะไรกับบัตรเครดิตเราบ้าง
เพราะมั่นใจว่าเป็นร้านที่มีตัวตน
มาตรการรักษาความปลอดภัยโดยทั่วไปจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาสร้างระบบป้องกัน
โดยจะใช้การเข้ารหัสเป็นหลักในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล สำหรับเว็บไซต์
อีคอมเมิร์ซที่มีการทำธุรกรรมทางออนไลน์ ส่วนใหญ่จะมีรหัสป้องกัน
หรือใช้บริการของหน่วยงานที่มีการเข้ารหัส สังเกตได้จากชื่อโปรโตคอลที่เป็น https:// จะมีรูปแม่กุญแจที่ด้านล่างบราวเซอร์ที่ใช้งาน
การรั่วไหลของข้อมูลบนโลกออนไลน์จากบั๊กที่มีชื่อว่าHeartbleed ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเข้าถึงข้อมูล
หรือรหัสในการทำธุรกรรมออนไลน์ได้ตั้งแต่ธนาคาร อีเมล ไปถึงเว็บสังคมออนไลน์ต่างๆ
ซึ่งจากรายงานที่ทั่วโลกได้ประกาศมานั้น
บั๊กตัวนี้ใช้ช่องโหว่จากการเข้ารหัสของโปรแกรม open source ที่มีชื่อว่า OpenSSL ซึ่งเว็บไซต์ชั้นนำหลายแห่งของโลกใช้งานอยู่
ดังนั้นผู้ใช้งานคอมอย่างคุณเองก็อาจจะเป็นหนึ่งในลูกค้าของเหล่าเว็บไซต์ที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้
อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องตกใจจนเกินไป
เพราะว่าเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่หลายแห่งได้ออกมายืนยันแล้วว่าได้ทำการอัพเกรดและปิดช่องโหว่ดังกล่าวไปแล้ว
ดังนั้นผู้ใช้งานควรที่จะเข้าไปเปลี่ยนรหัสการเข้าใช้งานโดยเร็วเพื่อความปลอดภัยที่สูงขึ้น
ซึ่งจะว่าไปก็เป็นสิ่งที่ดีที่ควรจะทำทุกๆ 2-3 เดือน
แม้จะไม่มีบั๊กตัวนี้ก็ตาม
จากเหตุการณ์นี้ สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนเริ่มหันมาสนใจเรื่องของความเป็นส่วนตัวและอันตรายจากผู้ไม่ประสงค์ดีที่จ้องจะขโมยข้อมูลออนไลน์มากขึ้น
ทั้งนี้เมื่อคุณป้องกันตัวเองจาก Heartbleed แล้ว
ก็อย่าลืมที่จะอัพเดตโปรแกรมรักษาความปลอดภัยอุดช่องโหว่ในเครื่องของคุณด้วย
เพราะว่ายังมีอันตรายอื่นๆที่จ้องจะเข้าถึงและขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานทั่วโลกอยู่
เช่น
มัลแวร์ (Malware) คือซอฟต์แวร์ที่ถูกใช้หรือสร้างขึ้นโดยผู้ไม่หวังดี
เพื่อทำลายระบบคอมพิวเตอร์
และขโมยข้อมูลสำคัญในเครื่องหรือหาทางเจาะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน
โทรจัน ฮอร์ส (Trojan Horse) คือมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถทำสำเนาตัวเองได้
ซึ่งอาจจะดูไม่เป็นอันตราย
แต่มันสามารถที่จะเจาะเข้าไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานและสร้างความเสียหายได้
สปายแวร์ (Spyware) คือมัลแวร์ที่ลักลอบเก็บข้อมูลส่วนบุคคลหรือองค์กร
แล้วทำการส่งต่อข้อมูลเหล่านั้น ไปยังที่อื่นโดยที่เจ้าของข้อมูลไม่รู้ตัว
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาตัวเองได้และแพร่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
สร้างความเสียหายในวงกว้าง
มัลแวร์ เหล่านี้สามารถเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายช่องทาง
แต่จากการวิจัยล่าสุดของ ไอดีซี และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ในปี 2557
นี้พบว่าช่องทางที่มีอัตราของการแพร่ มัลแวร์
สูงสุดคือการที่ผู้ใช้ติดตั้งหรือดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ปลอมมาใช้งาน เพราะว่าระบบรักษาความปลอดภัยในโปรแกรมเหล่านั้นจะถูกปิด
และทำให้ไม่สามารถทำการตรวจจับ มัลแวร์ ได้
ต่างจากของแท้ที่มาพร้อมแพซการอัพเดตอุดช่องโหว่ต่างๆ
เช่นระบบปฏิบัติการ Windows รุ่นใหม่ๆจะมาพร้อม Windows
Defender ซึ่งเป็น Antivirus ฟรี ที่สามารถตรวจจับและกำจัด ไวรัส สปายแวร์ และมัลแวร์ได้
รวมถึงอัพเดตอุดรูโหว่ของระบบปฏิบัติการด้วย ส่วนผู้ใช้ Apple
Mac OS X ก็จะมีการอัพเดตแพชเสริมเรื่องความปลอดภัย
และเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ทันสมัยขึ้น นอกจากนี้หากคอมคุณยังไม่มี Antivirus จริงๆ ก็มีตัวซอฟต์แวร์ Antivirus มากมายที่มีความสามารถในการดักจับภัยคุกคามต่างๆ
ที่คุณสามารถโหลดมาใช้งานได้ฟรีด้วย
ทุกวันนี้เราเลี่ยงการใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่ได้
แต่เราสามารถที่จะใช้งานอย่างปลอดภัยไร้กังวล
โดยหมั่นเปลี่ยนรหัสในการทำธุรกรรมออนไลน์อยู่เสมอ เมื่อเห็นแล้วว่าเว็บไซต์ต่างๆ
มีการลงทุนอัพเดตเพื่อปิดช่องโหว่ของระบบแล้ว
ผู้ใช้งานเองก็ต้องไม่ลืมที่จะหมั่นอัพเดตปิดช่องโหว่ในเครื่องคอมของคุณ
โดยควรเปิดการอัพเดตโปรแกรมตรวจจับมัลแวร์ต่างๆ อยู่เสมอ
เพื่อความปลอดภัยขั้นสูงสุด
พรบ.คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้คอมฯ
ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ให้ผิดกฏหมาย
ช่วงเวลานี้ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะ Social
network ก็ใช้กันแพร่หลาย ในการติดต่อสื่อสารหาเพื่อนๆ
ตลอดจนดาราใช้ติดต่อกับแฟนคลับจำนวนมาก ไม่เว้นแบรนด์เอเจนซี โฆษณาต่างๆยังใช้ Social
Network ด้วย แต่ก็มีหลายเหตุการณ์ที่คุณอาจไม่ทราบว่า สิ่งที่ทำแบบนี้
อาจทำให้ตนเองทำผิด พรบ คอมพิวเตอร์ ปี 2550 ด้วย
ซึ่งตอนนี้มีผลบังคับใช้ในไทยแล้ว ณ เวลานี้
statute-offense-compute-crime-2550 พรบ.คอมพิวเตอร์ปี 50 ( พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ.2550 ) เริ่มบังคับใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2550 จนถึงเวลานี้ก็บังคับใช้มาถึง 6 ปีแล้ว ซึ่งมีหลายมาตรา
ที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย
หากฝ่าฝืนอาจถูกดำเนินคดีได้ เช่น การกระทำโพสต์ข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ
อย่างกรณีของอดีตเณรคำที่มีการโพสต์ข้อความแสดงอิทธิฤทธิ์อวดอ้างผ่านทางเว็บไซต์ให้คนหลงเชื่อ
หรือ ให้ข้อมูลเท็จ ที่จะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
ประชาชนตื่นตระหนก , โพสข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล ลามก อนาจาร
ซึ่งกรณีทั้งหมดนี้ ผิด พรบ.คอม มาตรา 14 ระบุไว้ว่า “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑)
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ
อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ
ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕)
เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม
(๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
อีกกรณีที่ต้องระวังสำหรับผู้ใช้ Social
Network โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เจออะไร ขอกดแชร์
หรือส่งต่อ เช่นได้ข้อความมาใน Line,หรือทาง Facebook , Twitter เจอปุ๊บ share ปั๊บ หรือส่งต่อให้กับเพื่อนๆ ทั้งทาง Line หรือทางอีเมล โดยที่ไม่ได้ตรวจสอบก่อนว่าข้อความนั้น จริงรึเปล่า….? หากเผลอแชร์ทันที ทั้งๆเป็นข้อมูลเท็จ การกระทำลักษณะแบบนี้
ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งหากตรวจสอบว่าผิดจริง
ผู้แชร์ก็อาจถูกดำเนินคดี ได้ และอาจถึงขั้นจำคุก หรือปรับ อ.ปริญญา หอมอเนก
ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการธุรกรรมอิเลคทรอนิกส์ ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า
ก่อนส่งต่อ หรือแชร์ลองตรวจสอบข้อมูลก่อนว่าเนื้อหานี้จริงหรือไม่ เพราะถ้าคุณส่งข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
หรือต่อความมั่นคงของประเทศ ข้อมูลลามก อนาจาร ตามข้อมูลที่มีความผิดตาม พรบ คอม
ที่กล่าวไปแล้วนี้…..คุณก็จะมีความผิดในมาตรา 14 วรรค 5 (เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามข้อมูลเท็จ
) โดนด้วย!….รับโทษเหมือนกัน
อีกเรื่องที่เจอบ่อย คือการตัดต่อภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียหายแล้ว
เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต อันนี้ มีความผิดตามมาตรา 16
ระบุไว้ว่า
“ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น
ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้
โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
สำหรับผู้ให้บริการ
ก็ต้องระวัง หมั่นดูแลข้อมูลต่างๆที่คนอื่นโพสทิ้งไว้ในเว็บเราด้วย
เช่นพวกเว็บบอร์ด กระทู้ หรือ ความเห็นต่างๆ เพราะมีคนมาโพสต์ข้อความ โพสต์รูปที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
หรือภาพอนาจาร มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน แล้วคุณเพิกเฉย
ปล่อยให้มี การกระทำนั้น คุณก็จะ มีความผิด
พรบ.คอมพิวเตอร์ ในมาตรา 15 ข้อหาสนับสนุน
ยินยอมให้คนอื่นเผยแพร่ข้อมูลที่กระทบให้ผู้อื่นเดือดร้อน เสียหาย
กระทบความมั่นคงของรัฐ และอื่นๆตามที่ พรบ.คอม มาตรา14 ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่เริ่มใช้
พรบ.คอม ช่วงแรกๆด้วย มีเว็บมาสเตอร์ถูกจำคุกมาแล้ว
ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด แต่ตรวจสอบพบ เนื้อหาที่ผิด พรบ.คอม
ก็โดนติดคุกได้เช่นกัน และมีการตรวจสอบข้อมูลของผู้ให้บริการโฮสด้วย
พรบ.คอมพิวเตอร์
เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต้องรู้ และปฏิบัติให้อยู่ในกฎหมาย ด้วย
หากกระทำผิด พรบ. คุณก็จะถูกดำเนินคดี จำคุก และปรับ ได้
ซึ่งคุณอ้างไม่ได้ว่าคุณไม่รู้!!! เพราะคุณคือผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น